เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

จุดเด่นของเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารุ่นใหม่ (New MRI)

  • เครื่องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 ซม. ซึ่งกว้างกว่าเครื่อง MRI ทั่วๆไปถึง 10 ซม. ช่วยลดปัญหาผู้ป่วยกลัวที่แคบ(claustrophobia)
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจลดลง ขณะที่ให้ความละเอียดของภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
  • ภายในห้องตรวจมีอุปกรณ์ตรวจจับสัญญานชีพของผู้ป่วยตลอดการตรวจ
  • การตรวจในแต่ละครั้งจะมีนักรังสีเทคนิค, พยาบาล และรังสีแพทย์ ดูแลผู้ป่วยตลอดการตรวจ
  • ตรวจอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ระบบสมองและกระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น
  • สามารถตรวจหาความผิดปกติของเข่าและข้อต่างๆ เช่น เอ็นเข่าหรือข้อเท้าฉีกขาด มีก้อนที่เข่า เป็นต้น โดยให้ความละเอียดภาพที่มีความคมชัดสูง
  • สามารถตรวจดูเส้นเลือดต่างๆทั่วร่างกายโดยไม่จำเป็นต้องฉีดยาที่ใช้ร่วมกับการตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI contrast agent) เช่น ผู้ป่วยที่ส่งสัยภาวะหลอดเลือดแดงที่ไตตีบ เป็นต้น
  • สามารถตรวจหัวใจ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สงสัยก้อนเนื้องอกในหัวใจ ลิ้นหัวใจผิดปกติ และความผิดปกติอื่นๆของหัวใจ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • เตียงตรวจในห้อง MRI สามารถรับน้ำหนักผู้รับบริการได้ถึง 250 กก. และรองรับการปั้มหัวใจบนเตียงตรวจได้
  • ผู้รับบริการสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ในขณะตรวจ นอกจากนั้นภายในห้องตรวจยังมีกล้องวงจรปิดเพื่อคอยสังเกตุผู้รับบริการและไมโครโฟนภายในเครื่องสำหรับติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตลอดระยะเวลาของการตรวจ
  • ผู้รับการตรวจสามารถเลือกฟังเพลงได้ขณะตรวจ และผู้รับบริการสามารถนำเพลงมาจากบ้านเพื่อใช้ฟังขณะตรวจได้ หรือจะเลือกเปิดเพลงผ่าน mobile phone, iPod, iPad หรือ tablet ของผู้มารับบริการเองได้

ข้อจำกัดในการเข้าตรวจด้วย MRI

  • ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจบางรุ่นซึ่งไม่สามารถเข้าสู่สนามแม่เหล็กได้
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วได้รับการใส่คลิป (ชนิดที่ไม่ใช้ไททาเนียม) หนีบเส้นเลือดในสมอง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมอง (Deep brain stimulator) หรือ เส้นประสาท (Vagal nerve stimulation)
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟังที่ฝังในกระดูกหู (Cochlear implantation)
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะตะกั่วฝังอยู่ในตัว
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะหรือเศษเหล็ก ฝังอยู่บริเวณแก้วตา

หมายเหตุ: ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล