การใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Drainage)

การใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Drainage) เป็นการนำของเสียที่อยู่ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำปัสสาวะ หรือน้ำดี ที่ตกค้างในร่างกาย หรือมีการอุดตันของท่อระบายปกติของร่างกาย ด้วยวิธีใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ต้อง เสี่ยงต่อการผ่าตัด ใช้ระยะพักฟื้นน้อยกว่าการผ่าตัด

ตัวอย่าง

  • การระบายหนองที่คั่งในร่างกาย (Percutaneous Abscess Drainage PCD)
  • การระบายปัสสาวะที่คั่งที่ไต (Percutaneous nephrostomy PCN) เช่น กรณีที่มีนิ่ว มีก้อนเนื้ออุดตันทางเดินปัสสาวะหรือมีการบาดเจ็บของทางเดินปัสสาวะ
  • การระบายน้ำดีที่คั่งอยู่ที่ตับ (Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage
    PTBD) เช่น กรณีที่มีนิ่ว มีก้อนเนื้ออุดตันของท่อระบายปกติ ของทางเดินน้ำดี

การใส่สายสวนผ่านผิวหนังและส่วนที่ไม่เป็นอันตราย เข้าไปดูดเอาของเสียนั้นออกมาและคาสายระบายไว้ ร่วมกับการใช้เครื่องมือ ตรวจพิเศษ เช่น Ultrasound CT DSI เป็นตัวชี้นำทาง ทำให้ใส่สายระบายได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล