ต้อเนื้อ รู้ทันรักษาได้ อย่าทิ้งไว้จนตาพร่ามั่ว

ต้อเนื้อ

ต้อเนื้อ เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาชนิดหนึ่ง โดยผู้ป่วยอาจจะเห็นเป็นเนื้อสามเหลี่ยมนอกจากบริเวณหัวตาหรือ หางตาเข้ามาคลุมในตาดำ ต้อเนื้อจะทำให้เกิดอาการเคืองตา ไม่สบายตา ตาแดง สู้แสงไม่ได้ โดยตาแดงนี่อาจจะเป็นตาแดงที่เกิดขึ้นง่ายๆ อย่างเช่น แชมพูเข้าตาก็ตาแดงแล้ว โดนลมแรงนิดหน่อยก็ตาแดง แล้วก็มีอาการตาแห้งได้บ่อยๆ ต้อเนื้อในกรณีที่เป็นเยอะขึ้นจะส่งผลต่อการมองเห็น เนื่องจากเนื้อที่งอกเข้ามาวางในตาดำจะทำให้เกิดสายตาเอียงและบดบังการมองเห็นโดยตรง

สัญญาณเตือนสำหรับคนที่เป็นต้อเนื้อและคิดว่าควรจะต้องเข้ามาตรวจก็คือ ในเรื่องของต้อเนื้อที่มันลุกลามเข้ามาในตาดำมาก คนไข้สามารถสังเกตเห็นเองได้เลยว่าขอบตาดำนี่มันไม่ตรง แล้วก็มีเนื้อยื่นเข้ามา อีกอย่างหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณเตือนอีกเช่นกันก็คือเรื่องของตาแดง ถ้ามีตาแดงบ่อย ๆ ตาแดงเรื่อย ๆ โดนลมก็แดง โดนอะไรนิดหน่อยก็แดง อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะต้องเข้ามารับการรักษาเร็วขึ้น

อันตรายในการที่ไม่ได้เข้ามารับการรักษา จริง ๆ ต้อเนื้อเป็นต้อที่สามารถรอการผ่าตัดได้ค่อนข้างนาน กว่าต้อเนื้อจะลุกลามเข้ามาในตาดำใช้เวลาค่อนข้างนาน และการที่เผลอปล่อยทิ้งให้ลุกลาม สิ่งหนึ่งซึ่งอาจจะแก้ไขไม่ได้ก็คือ เมื่อเข้ามาแล้วก็อาจจะเหลือแผลเป็นไว้ แม้กระทั่งลอกออกไปแล้ว มันก็อาจจะยังเหลือแผลเป็นอยู่ ซึ่งอาจจะไม่ได้บดบังดวงตาโดยตรงหรือไม่ทำให้เกิดอาการเคืองโดยตรง แต่ก็อาจจะยังเหลือแผลเป็นให้เห็นได้ แต่ในกรณีที่ลุกลามเยอะก็ต้องระวังในเรื่องการมองเห็น ซึ่งอาจจะทำให้การมองเห็นลดลงไปได้มาก อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวัง

ต้อเนื้อ

สาเหตุ

  • แสงแดด
  • ลม
  • ฝุ่นควัน

อาการ

  • เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง คันตา
  • ถ้าเป็นมากทำให้การมองเห็นแย่ลง

การรักษา

  • ใช้ยาหยอดตา
  • ผ่าตัดต้อเนื้อ

ผ่าตัดต้อเนื้อ หรือ การลอกต้อเนื้อมี 2 ขั้นตอน คือ

  1. การเอาเนื้อที่อยู่บนตาดำออกไป และ การย้ายเยื่อบุตาที่อยู่ทางด้านบนลงมาขวางไว้แทน การที่ลอกทิ้งออกไปเฉย ๆ มีโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของตัวต้อเนื้อสูงกว่า อยู่ที่ประมาณ 30 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ การที่เราไปย้ายเนื้อทางด้านบนลงมาขวางเอาไว้แทนจะลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำเหลือที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ การเอาเยื่อบุตาลงมาขวางเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำสามารถทำให้ติดกันได้ด้วย 2 วิธี
    • วิธีที่ 1 คือ การใช้การเย็บ โดยสั่งมีการเย็บเยื่อบุตาชิ้นใหม่กับชิ้นเดิมเพื่อให้อยู่ด้วยกัน
    • วิธีที่ 2 คือ การใช้กาวเพื่อที่จะเอามาปะให้ติดกันแทน
  2. วิธีการเย็บอาจจะประหยัดกว่า แต่เนื่องจากการที่มีไหมอยู่ในตาก็จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้มากกว่า และ จะต้องตัดไหมเมื่อครบ 2 อาทิตย์ ส่วนการปะกาวจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า เนื่องจากกาว สามารถทำให้ตัวเยื่อบุตาติดกันได้โดยตรง และ ยังมีข้อดีที่ลดอาการระคายเคืองและไม่ต้องตัดไหมภายหลังด้วย

VDO การผ่าตัดต้อเนื้อ

1. การเตรียมตัว/การปฏิบัติตัว ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

2. การปฏิบัติตัวระหว่างรับการผ่าตัด

3. การปฏิบัติตัวและทำความสะอาดหลังการผ่าตัด

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล