เทคนิคการรักษากระดูกหัก แบบแผลเล็ก

เทคนิคการรักษากระดูกหัก แบบแผลเล็ก

กล้ามเนื้อบอบช้ำน้อย ลดภาวะแทรกซ้อน ฟื้นตัวได้เร็ว

ในปัจจุบันผู้ป่วยกระดูกหักมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดกระดูกหักจากอุบัติเหตุ และที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีโอกาสเสี่ยงภาวะกระดูกแตกหักได้ง่ายกว่าวัยอื่น  และประเทศไทยเองยังเข้าสังคมผู้สูงอายุ ทำให้พบปัญหากระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงแม้ว่าในผู้ป่วยกระดูกหักจะได้รับการรักษาแล้วนั้น แต่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังคงประสบปัญหาภายหลังการรักษา เช่น กระดูกติดผิดรูป กระดูกไม่ติด เกิดความพิการ มีอาการเจ็บปวด หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม ซึ่งปัญหาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

ด้วยเทคนิค “การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกแบบแผลเล็ก” หรือ  Minimally Invasive Plate Osteosynthesis (MIPO) หรือการผ่าตัดรักษากระดูกหักแบบ “รถไฟฟ้าใต้ดิน”  จะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ลดความบอบช้ำบริเวณเยื่อหุ้มกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิต ลดภาวะแทรกซ้อน เช่น กระดูกติดช้า หรือการติดเชื้อ ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกแบบแผลเล็ก จำเป็นต้องผ่าตัดซ้ำอีกครั้งเพื่อเอาเหล็กดามออกหลักจากที่กระดูกที่หักเชื่อมต่อสนิทแล้ว ซึ่งจะต้องผ่าเอาเหล็กออกเมื่อกระดูกติดดีแล้ว 1 – 2 ปีหลังการผ่าตัดใส่เหล็กไว้

หากสงสัยว่าเกิดภาวะกระดูกหัก  ให้งดการขยับบริเวณตำแหน่งนั้น ๆ และรีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที กระดูกจะสามารถกลับมาติดและใช้งานได้ตามปกติ

Prev 1 of 1 Next
Prev 1 of 1 Next

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล