การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ หรือถ้าแปลตรงตัวคือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทางด้านหน้า(DAA-THR) ถือเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบไม่ตัดกล้ามเนื้ออย่างแท้จริง(True Minimal Invasive) เพราะไม่มีการตัดกล้ามเนื้อใดๆระหว่างผ่าตัด แต่ใช้การแหวกระหว่างกล้ามเนื้อ 2 มัดที่ตำแหน่งจำเพาะ และมีขอบเขตจำกัด เพื่อเข้าถึงตำแหน่งข้อสะโพก เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่จำเพาะและจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เฉพาะช่วยการผ่าตัด ที่สำคัญศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะต้องมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ในการผ่าตัดชนิดนี้ เนื่องจากตำแหน่ง และการเข้าถึงข้อสะโพกมีข้อจำกัดหลายอย่าง แตกต่างจากการผ่าตัดวิธีการเปลี่ยนข้อสะโพกวิธีอื่นทั้งทางด้านหลังหรือด้านข้างที่สามารถขยายเพิ่มได้ตามการตัดกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น 

การเริ่มผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทางด้านหน้า(DAA THR) เริ่มการผ่าตัดครั้งแรกที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตเมื่อปี 2559 โดยความร่วมมือกับโรงพยาบาลกรุงเทพทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทางด้านหน้าสองข้าง ในการผ่าตัดครั้งเดียวกัน (Simultaneous Bilateral Total Hip Replacement) ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง ผู้ป่วยสามารถเดินโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินภายใน 1 สัปดาห์ ไม่มีอาการกระแผลกขณะเดิน กลับไปใช้ชีวิตเหมือนปกติอย่างรวดเร็ว จากความสำเร็จครั้งนั้น โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตได้เริ่มดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทางด้านหน้า ร่วมกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเดิมในบางเคสเป็นต้นมา  

ในปัจจุบัน ด้วยผลการรักษาที่น่าประทับใจในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในการเปลี่ยนข้อสะโพกทางด้านหน้า ทางโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตได้พัฒนาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกด้านหน้าเป็นการผ่าตัดหลักในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต วันแรก(Step 1 – Day 0)ผู้ป่วยจะได้พบกับศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนข้อสะโพก เพื่อประเมินอาการ ตรวจร่างกาย ตรวจภาพถ่ายรังสีวินิจฉัยโรค  หลังจากประเมินในเบื้องต้นว่าผู้ป่วยเหมาะสมในการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก และไม่มีข้อห้ามสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก 

กระบวการขั้นที่สอง ขั้นถัดไปผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายรังสีทรวงอก และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นการตรวจพื้นฐานในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการประเมินก่อนการผ่าตัดโดยอายุรแพทย์โรคหัวใจ ทั้งนี้อาจมีการตรวจเพิ่มในบางกรณีโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 

*ในผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคประจำตัวบางราย วิสัญญีแพทย์อาจจะเข้าร่วมประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดด้วย 

กระบวนการขั้นที่สองใช้เวลา 0-7 วัน (Step2 – Day 0-7)ความแตกต่างของระยะเวลาขั้นที่สองขึ้นกับสุขภาพผู้ป่วย โรคประจำตัว ยาที่รับประทานในปัจจุบัน โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยบางกรณีอาจต้องรอถึง 7 วันเพื่อให้หมดฤทธิ์ยา ในบางกรณีที่ทำนัดหมายล่วงหน้า ผู้ป่วยที่สุขภาพแข็งแรง ได้รับการตรวจสุขภาพล่วงหน้ามาก่อน หลังจากพบศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแล้ว สามารถดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ในวันเดียวกันเลย 

วันผ่าตัด ท่านจะต้องงดน้ำงดอาหารตามที่แพทย์ระบุไว้ ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายในตอนเช้า พยาบาลจะทำการ ยืนยันข้อมูลผู้ป่วย ท่านจะได้รับสารน้ำทางเส้นเลือดดำ วิสัญญีแพทย์จะมาประเมิน ให้คำปรึกษาถึงทางเลือกที่เหมะสมในการระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ช่วงระหว่างที่ท่านรอการผ่าตัด ท่านจะได้รับการพักรอในห้องพักของท่าน ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะมาเยี่ยม ให้คำแนะนำ ตอบข้อสงสัยอีกครั้ง จากนั้นจะทำการยืนยันข้างและตำแหน่งที่ผ่าตัด พร้อมทำเครื่องหมาย 

ที่หน้าห้องผ่าตัด ทีมผ่าตัดจะยืนยันตัวตนผู้เข้ารับการผ่าตัด หัตถการที่ผ่าตัด ตำแหน่งและข้างที่ผ่าตัด 

ในห้องผ่าตัดทีมวิสัญญีจะประเมินผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก เมื่อพร้อมจะเริ่มการระงับความรู้สึกที่วางแผนไว้ 

ในห้องผ่าตัดผู้ป่วยจะอยู่ในห้องผ่าตัดโดยประมาณ 4 ชั่วโมง (Theatre time) โดยแบ่ง 

  1. การให้การระงับความรู้สึก 
  2. การจัดท่าสำหรับการผ่าตัด การติดอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงสายสวน 
  3. การทำความสะอาดบริเวณผิวหนังพื้นที่ที่ผ่าตัดเพื่อฆ่าเชื้อ 
  4. การปูอุปกรณ์คลุมปราศจากเชื้อเพื่อเตรียมพื้นที่ผ่าตัด 
  5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก (90-120 นาที) 
  6. การวางสายยาชาเพื่อปล่อยยาชาระงับปวดหลังผ่าตัด 

หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการย้ายจากห้องผ่าตัด มาสังเกตุอาการอยู่บริเวณในห้องพักฟื้นซึ่งอยู่ข้างห้องผ่าตัดอีก 2-3 ชั่วโมง 

หลังจากผู้ป่วยรู้สึกตัวดี อาการโดยรวมดี วิสัญญีแพทย์จะพิจารณาส่งผู้ป่วยไปพักฟื้นหลังการผ่าตัดที่ห้องพักผู้ป่วย 

ที่ห้องพักผู้ปวย หลังจากผู้ป่วยตืนดี ไม่มีความผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหาร และน้ำดื่มได้ โดยปกติอาการปวดที่บริเวณสะโพกจะมีเล็กน้อย แต่จะมีอาการชาบริเวณที่ผ่าตัด และต้นขาด้านด้าน อาจจะมีอาการอ่อนแรงชั่วคราวจากยาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทต้นขาด้านหน้า (อาการอ่อนแรงและชาจะหายไปหลังหยุดยาระงับความรู้สึก) พยาบาลจะมาเยียม และประเมินอาการหลังผ่าตัดเป็นระยะเพื่อ 

วันถัดไปหลังผ่าตัด (Day 1) แพทย์จะเข้ามาเยี่ยมผู้ป่วย ประเมินอาการโดยรวม แสดงภาพถ่ายรังสีหลังการผ่าตัด และนำผู้ป่วยลุกนั่ง ยืน และเดิน โดยมีอุปกรณ์ช่วยเดิน พยาบาล และทีมกายภาพช่วยดูแล 

ในวันที่สองหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการถอดสายสวนต่างๆ ออก แต่อาจจะคงยาชาระงับอาการปวดอยู่ ในวันนี้ ผู้ป่วยจะยังคงได้รับการฝึกเดินและบริหารการเคลื่อนไหวโดยนักกายภาพ ผู้ป่วยหลายรายไม่มีอาการปวด เดินได้ดีก็สามารถกลับบ้านได้ตั้งแต่วันนี้ 

ในวันที่สาม และสี่ ผู้ป่วยจะได้รับฝึกบริหารโดยนักกายภาพ ยาชาระงับอาการปวดจะถูกถอดออก โดยปกติผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกข้างเดียวจะมีความพร้อมที่จะกลับบ้านในช่วงนี้ 

ในส่วนของผู้ที่เปลี่ยนสะโพกสองข้าง จะมีความยุ่งยากกว่าผู้ป่วยที่เปลี่ยนสะโพกข้างเดียว ผู้ป่วยจะยังทำการฝึกกายภาพต่อในโรงพยาบาลอีก 1-3 วัน (โดยทั่วไปอยู่โรงพยาบาลรวมไม่เกิน 7 วัน) 

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล