การผ่าตัดต้อกระจก และผู้ป่วยที่ต้องการเปลี่ยนเลนส์ลดการพึ่งพาแว่นตา

ต้อกระจกเป็นโรคที่พบได้บ่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาของมนุษย์ซึ่งมักจะพบในผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป โดยเลนส์จะเปลี่ยนจากใสเป็นขุ่นมัวหรือเป็นสีเหลือง เมื่อเป็นต้อกระจกจะทำให้การมองเห็นลดลงคุณภาพของการมองเห็นแย่ลงอาจจะต้องการแสงสว่างมากขึ้น หรืออาจจะต้องมีการเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ แต่การเปลี่ยนแว่นก็อาจจะชัดได้เพียงชั่วระยะหนึ่งแล้วการมองเห็นก็อาจจะลดลงไปอีก อาจจะต้องการแสงสว่างมากขึ้นหรือมีแสงแตกกระจายในเวลากลางคืน

สัญญาณเตือน ที่ต้องได้รับการตรวจรักษา

ในกรณีที่เราสงสัยต้อกระจก ก็คือตามัวลงโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ในคนที่อายุน้อยถ้ามีอาการตามัวลงต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการอ่านหนังสือมีแสงแตกกระจายเยอะมากขึ้นช่วงกลางคืน หรือว่าต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ ก็แนะนำให้ตรวจเพื่อที่จะค้นหาโรคต้อกระจก

หากไม่ได้รับการรักษาจะเป็นอันตรายหรือไม่

ก็จะทำให้การมองเห็นลดลง แต่จะเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยทั่วไปต้อกระจกจะใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างนาน เพราะฉะนั้นการมองเห็นก็จะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ไม่มีโอกาสที่จะดีขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ

ประเภทของเลนส์แต่ละชนิด

เลนส์แก้วตาเทียมจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต เราสามารถเลือกได้ว่าจะใส่เลนส์ชนิดไหน

เบื้องต้นก็จะมีเลนส์มาตรฐานเป็นเลนส์ที่สำหรับมองในระยะเดียว โฟกัสในระยะเดียว โดยส่วนใหญ่ก็จะเลือกให้การมองไกลชัดขึ้นและการมองใกล้ก็ยังต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ การใช้เลนส์ที่ช่วยแก้สายตายาว หมายถึง สามารถที่จะมีการมองเห็นได้ทั้งที่ใกล้และไกลในตาครั้งเดียว โดยลดการพึ่งพาแว่นลงไปได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผ่าตัด

โดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกพบได้น้อยมาก แต่เป็นสิ่งที่ต้องระวัง การที่เรามาแนะนำกันก่อนเพื่อที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ขึ้น

ข้อที่ 1 การติดเชื้อ

  • การติดเชื้อหลังจากการผ่าตัดต้อกระจกพบได้น้อย น้อยกว่า 1 ใน 10,000 ราย

ข้อที่ 2 การเกิดเลือดออก

  • การเกิดเลือดออกน้อยกว่า 1 ใน 10,000 รายเช่นกันพบได้น้อยมาก

ข้อแนะนำก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัด ไม่ควรมีการติดเชื้อ อย่างเช่น ไม่มีตาแดง ไม่มีขี้ตา ไม่มีผิวหนังรอบดวงตาอักเสบ แนะนำการทำความสะอาดรอบดวงตาก่อนการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงแนะนำให้ควบคุมความดันโลหิตสูงให้ได้ก่อน ถ้าผู้ป่วยมีการกินยาในกลุ่มที่เป็นยาละลายลิ่มเลือดต้องปรึกษากันก่อน อาจจะต้องมีการหยุดยาละลายลิ่มเลือดบางตัว

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจก เพื่อลดการพึ่งพาแว่น

อัตราของผู้ป่วยที่เข้ามา ติดตามอาการหลังผ่าตัดมีการมองเห็นที่ดีขึ้น ในกรณีใช้เลนส์หลายระยะ ผู้ป่วยสามารถ มองเห็นได้ทุกระยะโดยไม่ต้องใช้แว่น

VDO การผ่าตัดต้อกระจก

1. การเตรียมตัว/การปฏิบัติตัว ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

2. การปฏิบัติตัวระหว่างรับการผ่าตัด

3. การปฏิบัติตัวและทำความสะอาดหลังการผ่าตัด

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล