การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI)

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(Urinary Tract Infection: UTI) คือโรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ  ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียโดยจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้  การติดเชื้อจะเกิดขี้นที่ใดก็ได้ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ  และสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้อาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สามารถแบ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะออกเป็น 2 ประเภท

  1. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ซับซ้อน (uncomplicated UTI) คือการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยมีหน้าที่หรือโครงสร้างของระบบทางเดินปัสสาวะปกติ
  2. การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อน (complicated  UTI) คือการติดเชื้อในผู้ป่วยที่อ่อนแอ หรือมีโครงสร้างและหน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา  โดย กลไกการติดเชื้อคือแบคทีเรียดังกล่าวมีการเคลื่อนที่จากลำไส้มาปนเปื้อนบริเวณส่วนนอกของรูก้นจากนั้นเข้าสู่บริเวณช่องเปิดของท่อปัสสาวะและเคลื่อนขึ้นไปตามท่อปัสสาวะ  เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ท่อไต และไต ทำให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนั้นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออาจมาจากกระแสเลือดในผู้ที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดนำมาก่อน โดยปกติร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันการติดเชื้ออในทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือการไหลของน้ำปัสสาวะออกสู่นอกร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม  และสม่ำเสมอ เป็นการช่วยขับเอาเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนออกสู่นอกร่างกาย ดังนั้นหากมีความผิดปกติใดๆของการไหลออกของปัสสาวะ เช่น การกลั้นปัสสาวะ  มีนิ่วหรือเนื้องอกอุดตัน ในทางเดินปัสสาวะ  ความผิดปกติของโครงสร้างของไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชายเนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงส้ันกว่าผู้ชาย เชื้อแบคทีเรียจะเคลื่อนเขาสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้และบุคคลที่มีความผดิปกติของภูมิคุ้มกันโรคมีโอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น

อาการของโรค

ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะมีอาการต่างๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ หากการติดเชื้ออยู่เฉพาะที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะผู้ติดเชื้อจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ได้แก่ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด กลั้น ปัสสาวะไม่อยู่ น้ำปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีเลือดปน และปวดท้องน้อย  แต่ถ้าการติดเชื้อนั้นลามขึ้นไปจนถึงไต ผู้ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้แก่  มีไข้เบื่ออาหาร  คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลังบริเวณสีข้าง และถ้าเป็นรุนแรงมาก อาจมีความดันโลหิตต่ำ  ซึมลงและหมดสติได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากถ้าได้รับการรักษาทันทีและเหมาะสม แต่ถ้ารักษาล่าช้าจะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น เช่น การติดเชื้อใหม่ การติดเชื้อเป็นๆ หายๆ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง หรือลุกลามเข้ากระแลเลือดจนมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายจนทา ให้เสียชีวิตได้

การรักษา

การรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ไม่รุนแรงและมีอาการน้อย แพทย์จะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก สามารถกลับบ้านได้และให้ยาปฏิชีวนะในรูปกิน ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาคือประมาณ 3-7 วันขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของการติดเชื้อ และการตอบสนองต่อการรักษา ส่วนในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ไต หรือมีอาการที่รุนแรงแพทย์จะรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดด าเป็นเวลาประมาณ 10-14 วันขึ้นกับการตอบสนองต่อการรักษา ภายหลังการรักษาแล้ว ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 48-72 ชั่วโมง เช่น มีไข้ลดลง ปัสสาวะแสบขัดลดลง และอาการปวดท้องน้อยหรือปวดหลังบริเวณสีข้างลดลง หากอาการยังไม่ดีขึ้นชัดเจน ผู้ป่วยควรกลับมาพบแพทย์ซ้ำเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมต่อไปถึงสาเหตุ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ในบางกรณีหากผู้ป่วยมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะอย่างมาก แพทย์อาจให้ยากินเพื่อลดอาการแสบขัดเวลาปัสสาวะเพิ่มเติมเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 2 วัน

การป้องกันการติดเชื้อ

1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ

2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อให้ปัสสาวะออกในปริมาณที่เหมาะสม

3. เข้ารับการรักษาโรคที่มีผลทำให้การไหลของปัสสาวะผิดปกติ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น

4. ผู้ที่ยังคงมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย ๆ มากกว่า 2 ครั้งใน 6 เดือนหรือมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี แม้จะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปัสสาวะ และแก้ไขความผิดปกติของการไหลของปัสสาวะดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแบบกินเพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นระยะเวลานาน

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล