การผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ตรงโดยวิธีการเก็บกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (Sphincter Saving Surgery)

การผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ตรงโดยวิธีการเก็บกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (Sphincter Saving Surgery)

การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะในลำไส้ตรงที่อยู่ใกล้กับทวารหนัก มีความท้าทายมากกว่าการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้และทวารหนักชนิดอื่น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาขับถ่ายทางทวารหนักได้ในอนาคต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่านการอบรมพิเศษ เกี่ยวกับวิธีการผ่าตัดเพื่อเก็บกล้ามเนื้อหูรูดของทวารหนักร่วมกับแพทย์สหสาขา ซึ่งวิธีดังกล่าวได้รับการยอมรับและพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เพื่อผลสำเร็จของการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการรักษามะเร็งลำไส้ตรง

กล้ามเนื้อหูรูดเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก มีหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระให้มีความเหมาะสม การผ่าตัดแบบเดิมสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้องอกบริเวณลำไส้ตรง หรือเนื้องอกที่มีตำแหน่งติดกับหูรูดทวารหนัก อาจจำเป็นต้องตัดหูรูดออกพร้อมกัน ผู้ป่วยจะมีลำไส้เปิดบนผนังหน้าท้อง/ทวารเทียมตลอดชีวิต ทวารเทียมจะถูกปิดด้วยถุงที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมอุจจาระ ผู้ป่วยจำเป็นต้องนำอุจจาระในถุงไปทิ้งเมื่อต้องขับถ่ายอุจจาระในแต่ละวัน

Rectal cancer

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค การรักษาโดยเก็บกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไว้อาจจะประกอบด้วยการผ่าตัด หรือการผ่าตัดภายหลังการให้เคมีบำบัด และการฉายรังสี การประเมินระยะของโรคก่อนการผ่าตัดที่แม่นยำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านทางทวารหนัก (Endorectal ultrasound, ERUS) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) อาจมีความจำเป็น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน

Rectal Cancer Banner

การรักษาด้วยการผ่าตัดที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักทั้งหมดคือ เมื่อมะเร็งนั้นอยู่ในบริเวณที่ต่ำมากในไส้ตรงซึ่งติดกับหูรูด ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการตัดทั้งเนื้องอกลำไส้ตรงและต่อมน้ำเหลืองออกสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ การผ่าตัดเพื่อรักษาหูรูดเอาไว้เป็นการผ่าตัดที่ทำโดยศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักออก การรักษาเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงเอาไว้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขั้นตอนการผ่าตัดนี้เพื่อรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะเพศเอาไว้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเทคนิคการผ่าตัดศัลยกรรมปัจจุบันนี้ช่วยให้ศัลยแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม สามารถทำการผ่าตัดเพื่อรักษาหูรูดไว้ได้ โดยใช้วิธีการผ่าตัดแบบผ่านกล้อง (Keyhole Surgery or Laparoscopic Surgery) ภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม (Conventional Open Surgery) เนื่องจากขนาดของแผลที่มีขนาดเล็กลงส่งผลให้ระยะเวลาในการพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้นลงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล