โรคบกพร่องทางการเรียนรู้  (Specific Learning Disorder: SLD หรือโรคแอลดี LD)

หมายถึง กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ (specific learning disorder หรือ learning disorder หรือ learning disability) เป็นหนึ่งในความบกพร่องกลุ่ม neurodevelopmental disorder ที่เกิดจากสมองทำงานผิดปกติ สาเหตุจากกรรมพันธุ์หรือสภาพแวดล้อม ส่งผลทำให้ไม่สามารถในการอ่านหนังสือ เขียนสะกดคำและการคำนวณ หรือทำได้แตกต่างเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่

  1. บกพร่องทางการอ่าน  หรือที่เรียกว่า dyslexia เกี่ยวข้องกับอุปสรรคในด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ หรือความเข้าใจ Dyslexia เป็น SLD ที่พบมากที่สุดซึ่งมีผลต่อคนประมาณ 80% ที่มีโรค SLD
  2. บกพร่องทางการเขียนสะกดคำ   หรือที่เรียกว่า dysgraphia เกี่ยวข้องกับอุปสรรคในการทำความเข้าใจตัวเลข และแนวคิดทางคณิตศาสตร์ จะเกิดขึ้นใน 3% ของประชากร
  3. บกพร่องทางด้านการคำนวณ คณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า dyscalculia เกี่ยวข้องกับข้อจำกัด ในงานเขียนด้วยลายมือ อาจส่งผลต่อทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจับปากกาหรือดินสอ เช่น รูปร่างการเขียนตัวเลข หรือตัวอักษร

ซึ่งความบกพร่องปรากฏขึ้นตั้งแต่เด็กเข้าสู่วัยเรียน แต่อาจไม่ถูกตระหนักจนกระทั่งเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยพบได้กว่าร้อยละ 6- 9.9 ของเด็กไทยวัยเรียน ส่วนมากเป็นความบกพร่องด้านการอ่าน

สาเหตุของโรค

  • การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา
  • กรรมพันธุ์ ความบกพร่องทางการเรียนรู้มักถ่ายทอดกันภายในครอบครัว เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มักมีพ่อแม่ที่ประสบปัญหาเดียวกัน
  • ความผิดปกติของโครโมโซม อาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในระหว่างการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ รวมไปถึงผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ความเจ็บป่วยของมารดา การบาดเจ็บ การใช้สารเสพติด/ดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ หรือใช้เวลาตั้งครรภ์นาน หรือการขาดออกซิเจนในระหว่างคลอด ภาวะคลอดก่อนหรือคลอดหลังกำหนด เป็นต้น
  • สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อการเกิดพัฒนาการในช่วงแรกเริ่มของชีวิต  เช่น การถูกทอดทิ้ง การไม่ได้รับการสนุนทางจิตสังคม ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดควาบกพร่องทางการเรียนรู้ได้

การวินิจฉัยโรค

การรวบรวมประวัติการเรียนและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้านเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย รวมทั้งรายงานจากครูประจำชั้น การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียน เปรียบเทียบกับระดับสติปัญญา (IQ) เด็ก LD จะมีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำกว่าเพื่อนนักเรียนในชั้นอย่างชัดเจนและเป็นปัญหาที่กระทบต่อการเรียนอย่างต่อเนื่อง

การรักษา และฟื้นฟู

เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ควรให้ความช่วยเหลือแบบบูรณาการ และมองปัญหาอย่างรอบด้าน โดยอาศัยความร่วมมือกันแบบไตรภาคี คือทั้งทางครอบครัว ทางการแพทย์ และทางการศึกษา ดังต่อไปนี้

การช่วยเหลือทางการแพทย์

เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่น ๆ ได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก

การช่วยเหลือทางการศึกษา

โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละด้าน โดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น และควรส่งเสริมทักษะด้านอื่น ๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

การช่วยเหลือจากครอบครัว

อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

ศูนย์สุขภาพทางใจ Mental Health Clinic โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เปิดให้บริการการศึกษารายบุคคล (Individual Education Program) สำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ฝึกอ่าน เขียน คำนวณ โดยครูการศึกษาพิเศษ ติดต่อสอบถาม โทร. 076 254425 ต่อ 1023

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล