
เป็นโรคปวดกล้ามเนื้อที่เป็นอาการปวดเรื้อรัง โดยอาการปวดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในบริเวณของศูนย์รวมความปวดของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกกันว่า จุดกดเจ็บ (Trigger points) มีการกระจายของอาการปวดไปตามส่วนของกล้ามเนื้อนั้น ๆ ส่วนใหญ่คนทุก ๆ คนมักเคยมีอาการปวดกล้ามเนื้อแต่มักหายเอง
แต่ผู้ป่วย MPS มักมีอาการปวดที่เป็นเรื้อรังและมีอาการปวดที่แย่ลง โดยโรค MPS มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับความปวดอื่น ๆ ได้แก่ ไมเกรน ปวดกราม ปวดต้นคอ ปวดเอว หรือแม้แต่ปวดแขนขาเป็นต้น ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงานที่ต้องนั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ
สาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง
เกิดจากการใช้งานมัดกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ ทุกวัน เมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนเนื้ออักเสบ ที่เรียกว่า จุดกดเจ็บ ซึ่งเจ้าก้อนเนื้อนี้เองที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ซึ่งการเกิดจุดกดเจ็บนี้เกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อจนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5 – 1 เซนติเมตร ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ การเกิดจุดกดเจ็บทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือดและออกซิเจนเข้าไปเลี้ยง จนทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณจุดกดเจ็บ และปวดร้าวไปยังบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง
อาการและอาการแสดง

การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching Muscle)
- การรักษาด้วยการประคบความร้อนตื้น (Hot Compression)
- การปรับท่าทางและออกกำลังกายที่เหมาะสม (Correct Posture and Exercise)
- การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation)
- การรักษาด้วยคลื่นเสียง (Ultrasound Therapy)
- การรักษาด้วยคลื่นความร้อนลึก (Shortwave diathermy)
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave diathermy)
- การรักษาด้วยเลเซอร์ (LASER)
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
- ควรปรับท่าทางขณะทำงานที่ถูกต้องเหมาะสม ท่านั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และท่าทางจับเมาส์ที่ถูกต้อง คือ ปรับจอภาพด้านบนสุดให้อยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา ไม่ควรยกไหล่ขณะพิมพ์งาน ควรใช้เก้าอี้แบบมีพนักพิงและปรับพนักพิง 100-110 องศา สะโพกและขาต้องตั้งฉาก ปรับความสูงของเก้าอี้ให้พอดี ระดับความสูงของโต๊ะต้องพอดี เท้าสองข้างวางราบกับพื้น
- ปรับท่าการยืนที่ถูกต้อง หลังเหยียดตรง ไหล่ไม่ห่อและศีรษะไม่ก้มหรือยื่นไปทางด้านหน้า
- ท่ายืดกล้ามเนื้อเพื่อลดการเกร็งตัวและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ยืดค้าง 10 – 15 วินาที ทำซ้ำท่าละ 3 – 5 ครั้ง วันละ 2 – 3 รอบ หรือทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมง