การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อตรวจโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ อีกทั้งสามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ได้ช่วยในการการวินิจฉัยโรคหัวใจแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ และสามารถวางแผนการรักษาให้กับคนไข้แต่ละคนอย่างเหมาะสม

จุดเด่นของการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI) คือความคมชัดของภาพ และประสิทธิภาพในการประเมินการทำงาน รวมทั้งการไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด นอกจากนี้ผู้รับการตรวจไม่เจ็บตัว และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

เมื่อไหร่จึงควรตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

  • ต้องการตรวจลักษณะทางกายภาพและการทำงานของห้องหัวใจทุกห้องอย่างละเอียด รวมทั้งโครงสร้างต่างๆ เช่นลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่ที่ไหลเวียนสู่หัวใจ
  • สงสัยภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ตรวจประเมินปริมาณพังผืดที่กล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งสามารถพยากรณ์โรคได้
  • ตรวจหาสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • ตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • เพื่อประเมินผู้ป่วยอย่างละเอียดทั้งก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
  • ตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ติดเชื้อ หรือเนื้องอกบริเวณหัวใจ

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนทำการตรวจ

  • เจ้าหน้าที่จะสอบถามเพื่อความปลอดภัยก่อนเข้าตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) รวมทั้งประวัติการแพ้ยา เนื่องจากอาจต้องฉีดยาขณะทำการตรวจ
  • งดน้ำและอาหาร 4 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ
  • ในกรณีที่มีภาวะกลัวที่แคบ (Claustrophobia) ควรแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อรับประทานยาคลายความกังวล

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

ใครบ้างที่ไม่สามารถทำการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

  • มีข้อห้ามสากลของการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เช่น ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (cardiac pacemakers) ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ (cardiac defibrillators) ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะบางอย่าง (metallic heart valve prosthesis) ผู้ป่วยที่เคยรับการผ่าตัดมีคลิปหนีบหลอดเลือดในสมอง (intracerebral aneurysm clips) และผู้ป่วยที่ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นต้น
  • แพ้ยาบางชนิดที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ Gadolinium, Adenosine เป็นต้น
  • กลัวที่แคบอย่างมาก (severe claustrophobia)

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล