การดูแลผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าฉีกขาด

เอ็นไขว้หน้า เป็นเอ็นยึดข้อเข่าที่สำคัญภายในเข่า ช่วยให้มีความมั่นคงของเข่าในการบิด หรือหมุนข้อเข่า แรงบิดหมุนที่รุนแรงทำให้เอ็นไขว้หน้าขาดได้ คนที่ไม่มีเอ็นไขว้หน้า เมื่อบิดข้อเข่าจะรู้สึกเข่าอ่อนจะล้ม เกิดอาการปวดเข่าและอาจจะมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าหรือกระดูกอ่อนผิวข้อร่วมด้วย ถ้าเข่าเสียความมั่นคงเกิดอาการบิดเช่นนี้บ่อย ๆ จะทำให้เกิดอาการ

อาการ

บาดเจ็บของหมอนรองข้อและผิวข้อมากขึ้น กลายเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อย

อาการในระยะแรกได้แก่ การมีข้อเข่าบวม เนื่องจากมีเม็ดเลือดออกภายในข้อเข่าอาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ต่อมาผู้ป่วยจะรู้สึกว่า ข้อเข่าหลวมไม่มั่นคง มีอาการเข่าพลิกหรือข้อเข่าเคลื่อนออกจากกัน โดยเฉพาะเวลาบิดขา หรือเดินผิดท่าทาง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถวิ่งซิกแซ็กได้หรือวิ่งแล้วจะหยุดทันทีทันใดไม่ได้ เนื่องจากข้อเข่าจะเคลื่อน บางทีอาจจะมีความรู้สึกคล้ายเข่าหลุดเลยก็มี ในรายที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ซึ่งพบร่วมกันได้คนที่เอ็นขาดแล้วยังเล่นกีฬาต่อไป จะมีอาการเจ็บตามแนวข้อต่อหรือมีอาการข้อเข่าติด เข่าล็อกร่วมด้วย

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรมาพบแพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย การรักษาที่ทันท่วงทีและถูกต้องเหมาะสม

สาเหตุ

  1. อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาโดยที่พบบ่อยที่สุด คือ กีฬาฟุตบอล
  2. อุบัติเหตุอื่น ๆ เช่น ลื่นล้ม, อุบัติเหตุจราจร
  3. ความไม่พร้อมของตัวนักกีฬาหรืออุปกรณ์ เช่น ใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับพื้นหรือสภาพของสนาม, ขาดความระมัดระวังในด้านการเคลื่อนไหว
  4. ความไม่พร้อมของสถานที่ เช่น สนามมีหลุมทำให้ตกหลุมและเข่าบิด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บตามมา

ปัจจัยเสี่ยง

ไม่มี

การป้องกัน/ รักษา

            ความรุนแรงของการฉีกขาดของเอ็น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ

            ระดับที่ 1 มีการฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อของเอ็น แต่เอ็นยังไม่ยึดหรือขาดให้เห็นชัดเจน

            ระดับที่ 2 เอ็นฉีกขาดบางส่วน

            ระดับที่ 3 เอ็นฉีกขาดแยกออกจากกันทั้งหมด

การบาดเจ็บ ระดับ 1 มีการฉีกขาดบางเส้นใยของส่วนในเนื้อเอ็นและมีเลือดออกเกิดขึ้น แนะนำว่าให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

            การรักษาเบื้องต้น ทำได้โดยใช้หลักการ “RICE” กล่าวคือ

            R = rest คือ การหยุด พักและงดจากการเล่น

            I = ice   คือ การใช้ความเย็น โดยใช้น้ำแข็ง

            C = compression คือ การประคบด้วยความเย็นเพื่อลดปวด ลดบวม

            E = elevation คือ การทำให้ส่วนที่บาดเจ็บยกสูง ในที่นี้ คือ ยกขาสูง เพื่อที่จะช่วยลดการบวมจากนั้น หากเดินลงน้ำหนักไม่ได้ให้ใช้ไม้ค้ำยันช่วยเดิน

            อย่างไรก็ดีการบาดเจ็บระดับนี้ ไม่ทำให้เกิดการเสียสมรรถนะของเอ็นไปมาก เส้นเอ็นไม่เสียความแข็งแรง การรักษาใช้แบบตามอาการ

การบาดเจ็บ ระดับ 2 ลักษณะการบาดเจ็บจะมีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ผู้ป่วยจะมีการเสียสมรรถนะของเอ็น เช่น เจ็บมากเดินลำบากหรือเดินไม่ไหว อาการแสดงจะมีอาการปวด บวม เจ็บ มีรอยเขียวช้ำชัดเจน และใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์จึงจะค่อย ๆ ยุบบวม ข้อต่อจะยังคงมีความแข็งแรงมั่นคงอยู่ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้หากรักษาได้ถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงการระมัดระวังการใช้ข้อในช่วงรักษา โดยที่จะต้องกายภาพบำบัดรักษาการเคลื่อนไหวข้อต่อ การเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อและไม่กลับไปเล่นกีฬาจนว่าเอ็นนั้นจะหายสนิท โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษาประมาณ 6 – 10 สัปดาห์ เส้นเอ็นที่บาดเจ็บจะติดกันและใช้เวลาประมาณ 4 เดือน เส้นเอ็นจึงหายปกติดี

การรักษานอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากข้อเข่าบวมมากในช่วงแรก อาจต้องพันผ้าไว้ในช่วงแรก เพื่อลดการเคลื่อนไหวเข่า จากนั้นเมื่อยุบบวมก็มาประเมินการบาดเจ็บซ้ำอีกครั้งหรือจะต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อประกอบการรักษา หากเป็นแค่การบาดเจ็บของเอ็นด้านข้างของข้อเข่าสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงข้อเข่าก็ได้

การบาดเจ็บ ระดับ 3 การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด ยกเว้นหากมีการขาดของเอ็นไขว้หน้าและเอ็นไขว้หลัง ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็นอาจได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่ากับการผ่าตัดสร้างเอ็นใหม่ หากภายในเข่าได้รับการบาดเจ็บโดยไม่มีการบาดเจ็บอื่นร่วมด้วย ระดับนี้สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้เลย จากนั้นต้องใส่เครื่องพยุงเข่าที่สามารถปรับองศาเข่าได้ หากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมีการบาดเจ็บร่วมกับเส้นเอ็นอื่น ๆ เช่น หากเกิดขึ้นร่วมกับการบาดเจ็บเอ็นด้านข้าง ควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองก่อน จากนั้นให้พิจารณาสร้างเอ็นไขว้หน้าใหม่ วิธีนี้จะลดปัญหาข้อเข่าในอนาคตได้

การรักษาหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจะได้รับการพันเข่าด้วยสำลีหนา ๆ แล้วรัดด้วยผ้ายืดให้แน่นเพื่อไม่ให้บวมประมาณ 3 – 4 วัน หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยเริ่มฝึกบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่าได้เลย อย่างไรก็ตามการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าเป็นการแก้ปัญหาข้อเข่าหลวมได้ดี แต่ต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 เดือน กว่าเส้นเอ็นใหม่จะแข็งแรงพอที่เราจะสามารถกลับมาวิ่งหรือเล่นกีฬาได้ และเราไม่สามารถที่จะทำให้เส้นเอ็นใหม่นี้แข็งแรงเท่าเส้นเอ็นเดิมได้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะผ่าตัดในคนอายุน้อยและต้องการกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง เมื่อได้รับการผ่าตัดแล้วต้องหมั่นทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อกลับมาให้ได้ปกติ ผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับการฉีดยาเข้าในเยื่อหุ้มไขสันหลัง เพื่อให้ส่วนล่างของร่างกายชา ผู้ป่วยสามารถรับการผ่าตัดได้โดยไม่รู้สึกเจ็บ ใช้แผ่นรัดห้ามเลือดบริเวณต้นขาเพื่อที่ไม่ให้เลือดออกมากระหว่างการผ่าตัดรักษา เจาะรูบริเวณด้านหน้าเข่า ชิดกับเอ็นลูกสะบ้าใส่ท่อโลหะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 มิลลิลิตร ซึ่งมีเลนส์และท่อนำแสงส่องเข้าไปในข้อเข่า ทำให้สามารถเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่าโดยต่อภาพเข้ากับจอทีวีได้ ซึ่งจะเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในข้อเข่า เช่น ผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกอ่อน, เอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลัง, หมอนรองข้อเข่า, เยื่อบุข้อ เมื่อพบพยาธิสภาพหรืออาการผิดปกติก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น การทำผิวข้อให้เรียบ การเอาส่วนของหมอนรองข้อเข่าออกรวมทั้งการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้า, เอ็นไขว้หลังข้อเข่า ภาพที่เห็นในจอทีวีจะเป็นภาพขยายจากของจริงประมาณ 5 ถึง 10 เท่า สามารถจะอัดเป็นภาพวิดีโอเพื่อมาดูภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาเพิ่มเติม

ในทุกระดับของการบาดเจ็บควรจะต้องให้ยาลดปวด เช่น paracetamol ยากลุ่ม NSAIDS เพื่อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ การกายภาพบำบัด ได้แก่ การประคบด้วยความร้อน การเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหว การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอย ๆ เข่า การบริหารกล้ามเนื้อเมื่ออยู่ในอุปกรณ์ที่ช่วยพยุงข้อเข่าที่สามารถปรับองศาได้

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล