เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของตะกอนหินปูนในหูชั้นใน โดยปกติแล้วภายในหูชั้นในของเราจะมีอวัยวะที่ควบคุมการทรงตัวได้แก่ Utricle, Saccule และ Semicircular canal ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับก้นหอย ในส่วน Utricle จะมีตะกอนหินปูน (Otoconia) ที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด มีหน้าที่รับรู้การเคลื่อนที่ของศีรษะ แต่หากเกิดการสั่นสะเทือนที่ทำให้ตะกอนหินปูนดังกล่าวเกิดหลุดออก แล้วไปเคลื่อนที่ไปอยู่ในส่วน Semicircular canal จะส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนขึ้นมาได้
อุบัติการณ์
- อายุ 30-70 ปี มักพบในคนสูงอายุ > 60 ปี
- เพศหญิง:เพศชาย 1.5-2:1
- มักเกิดในหูข้างใดข้างหนึ่ง พบในหูสองข้างได้ร้อยละ 15
สาเหตุ
- ความเสื่อมตามวัย
- อุบัติเหตุ โดยเฉพาะการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณศีรษะ
- โรคของหูชั้นใน
- การผ่าตัดหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
- การติดเชื้อ
- หลังผ่าตัดใหญ่ที่ต้องนอนนาน ๆ
- การเคลื่อนไหวศีรษะซ้ำ ๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ต้องก้ม ๆ เงย ๆ หรือทำความสะอาดที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย
- ไม่ทราบสาเหตุ
อาการ
- เวียนศีรษะบ้านหมุน โคลงเคลง เสียการทรงตัวเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะอย่างรวดเร็ว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการมักเป็นวินาทีหรือนาที
- ไม่มีภาวะหูอื้อหรือเสียงดังในหู
- สามารถกลับเป็นซ้ำได้อีกในเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี
การรักษา
- ใช้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
- ทำกายภาพบำบัด เป็นการขยับศีรษะและคอโดยใช้แรงดึงดูดของโลกเพื่อเคลื่อนตะกอนให้กลับเข้าที่
- บริหารและฝึกระบบประสาททรงตัว