ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและมีความรุนแรง ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้สมองบริเวณนั้นมีปัญหา  ซึ่งทุกนาทีที่เสียไปเซลล์สมองจะถูกทำลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้ายอาจเกิดเป็นความพิการอย่างถาวร การวินิจฉัยที่รวดเร็วและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะลดโอกาสการเกิดภาวะทุพพลภาพและลดอัตราการเสียชีวิต ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

“เวลา” คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตมีการให้การรักษาที่รวดเร็ว เป็นไปตามมาตรฐานสากลแบบครบวงจร ด้วยเครื่องมือและวิธีการรักษาที่ทันสมัย มีหอพักฟื้นผู้ป่วยเฉพาะทางด้านโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง แพทย์โรคหลอดเลือดหัวใจ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกำหนดอาหาร นักจิตวิทยา ตลอดจนพยาบาลผู้ประสานงานคอยให้การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องระหว่างเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และติดตามอาการผู้ป่วยเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ทุก ๆ กระบวนการดูแลผู้ป่วยจะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง

อัตราการไม่กลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง (Prevention of recurrent stroke rate)

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ในปี พ.ศ.2562 โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยที่ไม่กลับมารักษาซ้ำด้วยโรคหลอดเลือดสมองเดิม ภายใน 28 วัน ร้อยละ 99.43 ซึ่งเป็นสถิติที่ดีเมื่อเทียบเคียงกับอัตราการไม่กลับมารักษาซ้ำด้วยโรคหลอดเลือดสมองเดิมของโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 76.7*

*อ้างอิง: Benjamin EJ, Virani SS, Callaway CW, Chamberlain AM, Chang AR, Cheng S, et al. Heart Disease and Stroke Statistics—2018 Update: A Report From the American Heart Association. Circulation [Internet]. 2018 Mar 20 [cited 2019 Feb 14];137(12):e67–492. Available from: https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIR.0000000000000558

อัตราผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน หลังได้รับการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน หมายถึง ความสามารถในการประกอบกิจต่าง ๆ ที่ควรจะกระทำได้เป็นปกติ เช่น การดูแลตนเอง การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา และการเรียนรู้ (Barthel ADL index** เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 10 คะแนน)

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ในปี 2562 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ได้รับการรักษาจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 100 ราย โดยพบว่าผู้ป่วยมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น 92 ราย (Barthel ADL index เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 10 คะแนน) คิดเป็นร้อยละ 92

**อ้างอิง: ปิยะภัทร เดชพระธรรม, รัตนา มีนะพันธ์, ประเสริฐพร จันทร, สมลักษณ์ เพียรมานะกิจ, เสาวลักษณ์ จันทรเกษมจิต, อำไพ อยู่วัลย์. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมินบาร์เธลฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2549; 16(1): 1-9.

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล