พาร์กินสัน (Parkinson)

พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดที่บริเวณตัวสมองเองในส่วนลึกๆ ซึ่งมีกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำมีจำนวนลดลงหรือบกพร่องในหน้าที่ ในการปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าโดปามีนจึงทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวช้าเกร็งและสั่นเกิดขึ้นตามลำดับ

พาร์กินสัน (Parkinson)

 

สาเหตุของโรคพาร์กินสันมีอะไรบ้าง

โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ มากมายได้แก่

  • ความชราภาพของสมองทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง
  • ยากล่อมประสาทหลักหรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือด้านการสร้างสารโดปามีนซึ่งผู้ป่วยทางจิตเวชจำเป็นต้องได้ยากลุ่มนี้
  • ยาลดความดันโลหิตสูงในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทำให้สมองลดการสร้างโดปามีนได้แก่ยารีเซอปีน
  • หลอดเลือดในสมองอุดตันทาให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจานวนน้อยหรือหมดไป
  • สารพิษที่ทำลายสมองได้แก่สารแมงกานีสสารคาร์บอนมอนออกไซด์
  • สมองขาดออกซิเจนในผู้ป่วยจมน้า/ ถูกบีบคอมีการอุดกั้นทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหารเป็นต้น
  • อุบัติเหตุศีรษะถูกกระทบกระเทือนหรือกระแทกบ่อยๆ
  • การอักเสบของสมอง
  • โรคพันธุกรรม

อาการของโรคพาร์กินสันมีอะไรบ้าง

โรคพาร์กินสันโรคนี้ส่วนมากจะพบในผุ้สุงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) โดยมีอาการทางระบบสมองที่เด่นชัด 4 ประการได้แก่

  • อาการสั่น
  • อาการเกร็ง
  • อาการเคลื่อนไหวช้า
  • การสูญเสียการทรงตัว

อาการแทรกซ้อนของโรคพาร์กินสันที่สาคัญ

  • นอกจากอาการหลักๆดังกล่าวแล้วยังพบว่าในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีภาวะแทรกซ้อนที่สาคัญอีก 4 อย่างที่ควรทราบไว้คือ
  • อาการท้องผูกเป็นประจา
  • อาการท้อแท้และซึมเศร้า
  • อาการปวดผู้ป่วยโรคนี้บางรายอาจมีอาการปวดตามตาแหน่งต่างๆของร่างกาย
  • อาการอ่อนเพลีย

ทางเลือกของการรักษา

การรักษาทางยา
ยาก็ทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้จึงควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยา

การรักษาทางกายภาพบาบัด
จุดมุ่งหมายของการรักษาโรคพาร์กินสันคือสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับคืนมาสู่สภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติให้ได้มากที่สุด สามารถเข้าสังคมได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงสามารถมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย การรักษาทางกายภาพบาบัดจะช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในหัวข้อการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วนท่าเดินนั่งและการทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่นหลังโกงไหล่ติดปวดหลังปวดเอวปวดขาเป็นต้น

การรักษาโดยการผ่าตัด
วิธีฝังเครื่องกระตุ้นสมองที่เรียกว่า Deep Brian Stimulation(DBS) การทำางานของเครื่องนี้อาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็กปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นเพื่อยับยั้งการทางานของสมอง ส่วนที่ทางานผิดปกติการรักษา โดยวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นทันทีหลังจากได้รับการผ่าตัด และสามารถปรับแต่งการกระตุ้นภายหลังได้โดยใช้ Remote Control

การปฏิบัติตัว

ผู้ป่วยพาร์กินสันมักมีการเคลื่อนไหวน้อยไม่ชอบดื่มน้าไม่รับประทานผักและผลไม้ควรดื่มน้ำมาก เลี่ยงชา กาแฟ เป็นต้น หลักการทางกายภาพบาบัดที่ง่ายๆและผู้ป่วยทาเองได้มีดังนี้

การเดิน
ให้ยืดตัวตรงก่อนและก้าวเท้าให้ยาวพอสมควรอย่าสั้นเกินไป ให้เดินเอาส้นเท้าลงให้เต็มฝ่าเท้าอย่าใช้แต่ปลายเท้า ให้แกว่งแขนไปด้วยในขณะเดินเพราะจะทำให้การทรงตัวดีขึ้น และจะได้ไม่ล้มง่ายหากหมุนตัวหรือกลับตัวเร็ว ๆ และให้ฝึกเดินทุกวันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะเดินอย่าหันรีหันขวางหรือเดินไขว้ขา ในบางรายอาจจาเป็นต้องใช้ไม้เท้าช่วยเดิน

การจัดท่าของร่างกาย
การนอนราบบริหารกล้ามเนื้อท้องโดยแอ่นท้องในท่านอนหงายราบกับพื้นแข็งทุกวันวันละ 30 นาที การฝึกยืนเชิดหน้าเงยคางหลังชิดกาแพงหรือผนังห้องขาสองข้างห่างกันเล็กน้อยปลายส้นเท้าห่างฝาห้องราว 4 นิ้ว จากนั้นยกไหล่หลังและเงยหัวติดกาแพงเป็นท่าที่ทาให้ผู้ป่วยยืนยืดตัวได้เต็มที่

การทรงตัว
ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเป็นอันขาด ให้ใช้รองเท้าส้นเตี้ยและไม่ใช้รองเท้าที่ทาด้วยวัสดุยางหรือเหนียวติดพื้นง่าย การบริหารข้อนับว่าเป็นสิ่งสาคัญสาหรับการทรงตัวของผู้ป่วย การบริหารข้อทุกข้อของร่างกายทุกวันอย่างสม่าเสมอสมควรทาทุกวัน

การนอน
ไม่ควรใช้เตียงที่สูงเกินไป เวลาขึ้นเตียงนอนให้นั่งที่ขอบเตียงก่อน จากนั้นเอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ข้อศอกยันแล้วจึงยกเท้าขึ้นบนเตียง วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดหลังและเอวได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องลุกขึ้นตื่นกลางดึก เช่น เข้าห้องน้า ผู้ป่วยต้องเปิดไฟให้สว่างเพียงพอก่อนเสมอ อย่าใช้วิธีเดินสุ่มในความมืด

การดูแล
การเอาใจใส่ดูแลของสมาชิกในครอบครัวตลอดจนความเข้าอกเข้าใจในผู้ป่วยและเข้าใจของลักษณะของโรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีกาลังใจและหายจากภาวะซึมเศร้าได้ ภาวะซึมเศร้านี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งผู้ป่วยอาจคิดสั้นและทาลายชีวิตตนเองและผู้อื่นได้ ในรายที่มีอาการมากและบ่นอยากตายจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อบาบัดรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 


หมายเหตุ: ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของเรา ได้ที่:

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล