ภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ

เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทำให้มีอาการปวดบริเวณใบหน้า ศีรษะ ขมับ กกหู หน้าหู ในหู ขากรรไกร และฟัน นอกจากนี้อาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น มีเสียงดังกึกกักหรือครืดคราดบริเวณหน้าหู อ้าปากแล้วปากเบ้หรือขากรรไกรค้าง

ปัจจัยเสี่ยง

ในการทำกายภาพบำบัดนั้น จะเน้นในเรื่องการลดอาการปวดในบริเวณข้อต่อขากรรไกร และทำการบริหารข้อต่อขากรรไกร ให้กล้ามเนื้อและเอ็นมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยมีวิธีการ ดังนี้

Jaw exercise – เป็นการบริหารข้อต่อขากรรไกร แพทย์จะให้ผู้ป่วยฝึกการออกเสียง เพื่อให้มีการขยับขากรรไกรรวมถึงฝึกการเคลื่อนไหวเข้าออกของปาก วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มยืดหยุ่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกร อีกทั้งยังช่วยให้ข้อต่อขยับได้มากขึ้น ในกรณีที่มีพังผืดอยู่ในบริเวณข้อต่อ

Heat therapy – การประคบร้อนช่วยให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณข้อต่อได้ดีขึ้น และช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง

Transcutaneous electrical nerve stimulation – การใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ กระตุ้นผ่านผิวหนัง วิธีนี้จะช่วยลดการส่งสัญญาณประสาทของการเจ็บปวดได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเส้นประสาทให้ควบคุมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวได้ดีขึ้น

Ultrasound therapy – การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่สามารถผ่าทะลุลงไปในบริเวณของข้อต่อขากรรไกรซึ่งช่วยลดอาการปวด และลดการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อได้ด้วย

Mobilization – การจัด ดัดเพื่อให้กระดูกกลับเข้าที่ บางรายเมื่อรักษาด้วยวิธีนี้ก็หาย แต่บางรายอาจจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานถึง 2-3 เดือน ในผู้ที่มีการยึดติดของข้อต่อมาก หรือการที่มีปัญหามานานทำให้ระบบประสาทจดจำการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ผิดปกติไปจากเดิม จึงต้องมาเรียนรู้การเคลื่อนไหวที่ถูกต้องกันใหม่อีกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมายได้ที่ ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โทร. 1719 ต่อ 1070-1071

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล