
โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุรองจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
สาเหตุของการเกิดโรค

โรคพาร์กินสันเกิดจากการตายของเซลล์สมอง ที่เรียกว่า Substantia nigra pars compacta ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สร้าง โดปามีน (Dopamine) ที่เป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไป ไม่สามารถผลิตสารโดปามีนได้ตามปกติ
ทำให้เกิดการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ อีกทั้งยังอาจมีความผิดปกติในด้านจิตใจและอารมณ์ เป็นสาเหตุทำให้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีบุคลิกภาพความคิด ความจำและความเฉลียวฉลาดเปลี่ยนไปจากปกติ
อาการของโรค

การรักษาโรคพาร์กินสันประกอบด้วย 3 วิธี
- รักษาด้วยยา เพื่อสร้างสารโดปามีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ สำหรับยาที่ใช้ในปัจจุบัน คือยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก (การใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ตามความเหมาะสม
- การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงคนปกติที่สุด โดยเน้นการออกกำลังกายดังนี้
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) เช่น การเดินบนพื้นราบ การเดินสายพานโดยใช้อุปกรณ์พยุงเดิน การออกกำลังกายในน้ำ
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) เช่น การยกน้ำหนัก การฝึกนั่งยอง
- การออกกำลังกายแบบมีแบบแผน (Formalized patterned exercises) เช่น การเต้นรำ, การฝึกโยคะ (Yoga), การฝึกไทเก๊ก (Tai-Chi).
- การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) ควรใช้การยืดกล้ามเนื้อเป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย
- การผ่าตัด โดยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า (deep brain stimulation) และการผ่าตัดแบบทำลายโดยใช้คลื่นวิทยุ (radiofrequency ablative surgery)