การลดปวดด้วยกายภาพบำบัด

ผ้าประคบร้อน

ผ้าประคบร้อน

เป็นการประคบส่วนของร่างกายที่มีอาการปวด เช่น คอ บ่า ไหล่ หลัง ด้วยแผ่นประคบร้อนที่อุณหภูมิเพื่อการรักษา 40 – 45 องศา เป็นความร้อนชื้น ผู้ป่วยจะนอนพักผ่อนบนแผ่นร้อนประมาณ 20-30 นาที ซึ่งความร้อนจะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย มีโลหิตหมุนเวียนได้ดีขึ้น ขณะให้การรักษานี้จะมีเหงื่อซึมร่วมด้วย

Far Infrared

Far Infrared

เป็นความร้อนตื้นแบบแห้ง ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง เหมาะกับผู้ป่วยที่ปวดและมีบาดแผล ไม่สามารถวางวัตถุหนักหรืออุปกรณ์ที่จะสัมผัสแผลโดยตรงได้

การแช่พาราฟิน

การแช่พาราฟิน

การแช่พาราฟิน หรือไขขี้ผึ้ง เป็นการแช่ข้อมือหรือนิ้วที่บาดเจ็บลงไปในขี้ผึ้งอุ่น ๆ เพื่อลดอาการแข็งของข้อต่อนิ้วที่บาดเจ็บ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการปวด ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น หรือพังผืดบริเวณที่รักษานุ่มตัวลงและทำให้บริหารมือหรือนิ้วเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวได้สะดวกยิ่งขึ้น

การประคบเย็น Cryo cuff

การประคบเย็น Cryo cuff

การประคบเย็น อุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ใช้ในช่วงหลังมีการบาดเจ็บใหม่เฉียบพลัน ภายใน 24-72 ชม. หรือหลังการผ่าตัด ใช้ Cryo cuff (น้ำและน้ำแข็งหล่อเย็นอยู่ใน Cuff) พันประคบให้มีความดัน ความเย็น และการจำกัดการเคลื่อนไหว ของบริเวณที่ประคบเย็น จะทำให้สามารถลดอาการปวด บวม อักเสบได้เร็วขึ้น

การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์

การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์

เป็นคลื่นเหนือเสียง โดยผลทางความร้อน (Thermal Effect) ให้ผลการนวดแบบจุลภาค (Micro massage) ผลทางชีวภาพ (Biological effect) และผลทางประสาท (Neuronal effect) ทำให้ไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ออกซิเจนมากขึ้นและเป็นการเพิ่ม Metabolism ลดอาการ ปวด บวม ทำให้กล้ามเนื้อลดคลายตัว แผลเป็นอ่อนตัวลง และเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ

การรักษาด้วยคลื่นสั้น (SWD.)

การรักษาด้วยคลื่นสั้น (SWD.)

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ให้ความร้อนในเนื้อเยื่อส่วนลึกของร่างกายหรืออาการปวดเรื้อรัง หรือปวดเป็นบริเวณกว้าง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดความเจ็บปวด คลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ห้ามใช้ในกรณีผู้ป่วยมีโลหะในร่างกาย

การรักษาด้วยเลเซอร์

การรักษาด้วยเลเซอร์

ให้ผลในการกระตุ้นทางชีวภาพต่อเนื้อเยื่อ (Biostimulated tissue) ให้ผลในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม ลดการอักเสบ กระตุ้นการสังเคราะห์เนื้อเยื่อคอลลาเจน ช่วยรักษาบาดแผลต่าง ๆ เหมาะสำหรับการบาดเจ็บในบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บจากกีฬา ใช้ได้ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า

การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า สามารถเลือกใช้ได้หลายกระแส เช่น TENS Interferential Surge faradic ช่วยบรรเทาอาการปวด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนและลดบวม เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strengthening) ชะลอการลีบของกล้ามเนื้อ (Atrophy)

การดึงคอ

การดึงคอ

การดึงคอทำให้ช่องกระดูกต้นคอที่ตีบแคบจากภาวะกระดูกต้นคอเสื่อมหรือมีหมอนรองกระดูกเคลื่อน กว้างขึ้น โล่งขึ้น ลดอาการเกร็ง ตึงตัวของกล้ามเนื้อต้นคอ ทำให้อาการชาหรืออาการร้าวลงแขนลดลง

การดึงเอว

การดึงเอว

การดึงเอวช่วยทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวที่ถูกต้อง ลดความดันในช่องกระดูกสันหลัง ช่วยยืดกล้ามเนื้อ เอ็นที่ตึงยึดบริเวณกระดูกสันหลัง บรรเทาอาการกดทับหรือการรั้งของเส้นประสาท

ทางเลือกอื่น

  • รับประทานยา
  • ฉีดยา
  • ฝังเข็ม
  • แพทย์ทางเลือก

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา

  1. ผู้ป่วยที่เป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง (Malignant Tumor) เชื่อว่าจะทำให้การกระจายของมะเร็งเร็วขึ้น
  2. บริเวณที่เป็นวัณโรค (TB) ในระยะติดต่อ
  3. บริเวณที่มีเลือดออก (Hemorrhage) หรือมีแนวโน้มจะมีเลือดออก เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้
  4. ระหว่างมีประจำเดือน เพราะว่าจะทำให้ประจำเดือนมีมากกว่าปกติ
  5. ผู้ป่วยที่มีผิวหนังไวต่อความรู้สึกหรือความร้อนมากเป็นพิเศษ
  6. ผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนเลือดผิดปกติ
  7. สตรีมีครรภ์ ควรแจ้งนักกายภาพบำบัดเพื่อวางแผนการรักษาที่ไม่มีผลกระทบกับทารกในครรภ์
  8. หลังการรักษาด้วยกายภาพบำบัด อาจมีอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อได้ในวันแรก

การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง

ก่อนทำกายภาพบำบัด ผู้ป่วยไม่ควรปล่อยให้ตนเองท้องว่างนานเกินไป เพราะอาจรู้สึกเวียนศีรษะหรือคล้ายจะเป็นลมได้หลังได้รับความร้อน

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล