สังเกต ป้องกัน รู้เท่าทัน แถบสีน้ำตาลบนเล็บ หรือ มะเร็งไฝ (Longitudinal Melanonychia)

แถบสีน้ำตาลบนเล็บ (Longitudinal Melanonychia) เกิดจากอะไรได้บ้าง

  1. เซลล์เม็ดสีที่อยู่บริเวณโคนเล็บถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่
  • การบาดเจ็บบริเวณโคนเล็บ จากการทำเล็บ การกัด หรือ แกะเล็บ การขัดถู เสียดสี เช่น จากการสวมรองเท้าหัวแคบ
  • ยา เช่น ยาเคมีบำบัด ยาต้าน HIV บางชนิด
  • การฉายแสง
  • การตั้งครรภ์
  • โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้มีเม็ดสีเพิ่มจำนวนขึ้นตามผิวหนัง เยื่อบุ ต่าง ๆ
  • โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) จากต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง
  • การติดเชื้อ HIV
  • เกิดตามหลังโรคสะเก็ดเงินของเล็บ การติดเชื้อราของเล็บ

2. เนื้องอกของเซลล์ส่วนประกอบของผิวหนังบริเวณเล็บ
3. เนื้องอกของเซลล์เม็ดสีบริเวณเล็บ ซึ่งก็คล้ายกับการเกิดกระ หรือ ไฝของผิวหนัง ทั้งนี้รวมถึงมะเร็งไฝ (Melanoma) ด้วย

เมื่อไหร่ควรสงสัยมะเร็งไฝ (Melanoma) ที่เล็บ

1. ลักษณะของผู้ป่วย

  • อายุมากกว่า 50 ปี  
  • มีประวัติมะเร็งไฝในตนเองหรือครอบครัว

2. ลักษณะของแถบสีบนเล็บ

  • สีน้ำตาลเข้ม หรือ ดำ
  • แถบสีขนาดกว้างกว่า  3 มิลลิเมตร
  • มีความหลากหลายของสี ไม่เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ขนาดแถบสีที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่วางตัวขนานหรือต่อเนื่องกัน
  • ขอบเขตไม่คมชัด
  • แถบสียื่นเข้าไปใต้จมูกเล็บหรือผิวหนังรอบเล็บ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของสีและขนาดอย่างรวดเร็ว  หรือในทางกลับกันไม่มีการเปลี่ยนแปลงตอบสนองหลังการรักษาโรคของเล็บที่มาก่อนหน้า

หากตรวจร่างกายหรือตรวจภายใต้กล้องขยายพิเศษ (Dermoscope) แล้วพบลักษณะที่อาจเข้าได้กับมะเร็งไฝ แพทย์จะพิจารณาการตัดชื้นเนื้อบริเวณโคนเล็บเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาต่อไป

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล