รักษาและป้องกัน แผลเป็นนูนและคีลอยด์

แผลเป็นนูน และคีลอยด์ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลาย ๆ คนพบเจอ อยากจะสวมใส่เสื้อผ้าสวย ๆ ก็ทำให้ไม่ค่อยมั่นใจสักเท่าไหร่

แผลเป็นนูน และคีลอยด์ เป็นอย่างไร ?

ลักษณะเป็นปื้นนูนแข็ง ตามแนวรอยแผล (กรณีของแผลเป็นนูน) หรือล้ำออกมานอกรอยแผล (กรณีของคีลอยด์) เกิดตามหลังการบาดเจ็บหรือการอักเสบรุนแรงของผิวหนัง เนื่องจากมีการซ่อมแซมของผิวหนังที่มากผิดปกติ

อาจมีอาการคันและเจ็บร่วม กรณีเป็นคีลอยด์สามารถขยายขนาดขึ้นได้เรื่อย ๆ

พบบ่อยในผู้มีแผลเป็นนูนมาก่อน มีผิวเข้ม การเกิดแผลในตำแหน่งที่มีความตึงของผิวสูง เช่น หน้าอก ไหล่ สะบักหลัง แนวกราม และพบมากขึ้นในแผลติดเชื้อ แผลลึก

แผลเป็นนูน และคีลอยด์ รักษาอย่างไร ?

วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดี

  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในแผล เป็นการรักษาหลัก
  • เลเซอร์ชนิด Pulse dye laser หรือ V beam laser เป็นการรักษาร่วม โดยเลเซอร์ จะช่วยลดรอยแดงเพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการรักษาและป้องกันการเกิดแผลเป็น
  • การจี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (Cryotherapy) เป็นการรักษาร่วมในรอยโรคที่นูนหนาแข็งมาก โดยการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ สามารถทำซ้ำทุก 2 – 4 สัปดาห์จนราบลง

แผลเป็นนูน และคีลอยด์ ป้องกันอย่างไร ?

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล