ตา ไต ภัยเงียบจากเบาหวาน

ตา ไต ภัยเงียบจากเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากเบาหวานที่จอตา และที่ไต นอกจากจะนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะทั้งสองแล้วยังเพิ่มอัตราการเสียชีวิตอีกด้วย ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรได้รับการตรวจ การป้องกัน และการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นเพื่อชะลอหรือลดการสูญเสียอวัยวะทั้งสอง และเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

ภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน

  1. เบาหวานขึ้นจอตาในระยะต้น (NPDR) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ เริ่มต้น ปานกลาง และรุนแรง
  2. เบาหวานขึ้นจอตาระยะรุนแรง (PDR) มีเส้นเลือดงอกใหม่ สามารถทำให้เกิดภาวะเลือดออกในวุ้นตา หรือเลือดออกหน้าจอตา และกลายเป็นพังผืดในจอตาร่วมกับเกิดจอตาลอก ซึ่งทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

ตา ไต ภัยเงียบจากเบาหวาน

แนวทางการตรวจและวินิจฉัย

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจจอตาหลังเป็นเบาหวาน 5 ปี และตรวจครั้งถัดไปตามแพทย์นัด หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการตรวจจอตาหลังการวินิจฉัยโรคเบาหวานโดยไม่ล่าช้า และตรวจครั้งถัดไปตามแพทย์นัด หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและมีครรภ์ ควรได้รับการตรวจจอตาทันทีที่ทราบว่ามีการตั้งครรภ์ หรือภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และตรวจครั้งถัดไปตามนัดของจักษุแพทย์

แนวทางการป้องกันและดูแลรักษา

  • ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงปกติตลอดเวลา
    • ก่อนอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
    • หลังอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ควรเกิน 180 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
  • ควรวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มาพบแพทย์ และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด (LDL ไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ในเวลาที่เหมาะสม สามารถป้องกันการสูญเสียสานตาในผู้ที่มีภาวะจอตาผิดปกติจากเบาหวาน
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรติดต่อแพทย์โดยเร็วที่สุด เมื่อเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับสายตา

ตา ไต ภัยเงียบจากเบาหวาน

อุบัติการณ์และการดำเนินโรคของโรคไตจากเบาหวาน สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง และปัจจัยทางพันธุกรรม โรคไตจากเบาหวานสามารถตรวจพบได้จากการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ(albuminuria)

แนวทางการคัดกรองและวินิจฉัย

ผู้ป่วยเบาหวาน ควรได้รับการตรวจหาโรคไตจากเบาหวานตามที่แพทย์กำหนด หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แนวทางการป้องกันและดูแลรักษา

  • ระยะที่ยังไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงค่าปกติเท่าที่สามารถทำได้
  • ระยะที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท

โดยมีสถิติผลการตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการ ณ รพ.กรุงเทพภูเก็ต* พบผู้ป่วยมีความผิดปกติที่ตา 27.74 % และผิดปกติที่ไต 21.74 %

*สถิติจากผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ปี พ.ศ. 2560

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล