เทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

นมแม่ วัคซีนหยดแรกของลูก

  • Super food มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงภูมิคุ้มกันจากแม่
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย การติดเชื้อในหู และระบบทางเดินหายใจหรือปอดบวม
  • เพิ่มไอคิว นมแม่มีกรดไขมันและสารอาหารอื่น ๆ ที่ช่วยพัฒนาสมอง
  • สร้างความอบอุ่น สร้างความผูกพันระหว่างแม่และลูกและช่วยส่งเสริมพัฒนาการ
  • ช่วยสุขภาพของแม่ ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และโรคกระดูกพรุน
  • นมแม่ช่วยประหยัด สามารถประหยัดเงินได้ถึง 3,000-5,000 บาทต่อเดือน

เทคนิคสำหรับคุณแม่มือใหม่ 4 ดูด

  • ดูดเร็ว ให้นมแม่ทันทีในช่วง 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
  • ดูดบ่อย ให้ดูดเสมอเมื่อลูกหิวเพื่อช่วยให้น้ำนมไหล
  • ดูดถูกวิธี ครอบลานนม คางชนเต้า ใบหู ขากรรไกร ขยับตอนดูด
  • ดูดเกลี้ยงเต้า น้ำนมมีส่วนหน้าและหลัง ต้องดูดให้ได้ทั้งหมด

วิธีตรวจเช็กว่านมเกลี้ยงเต้าแล้ว

  • เต้านิ่มทั้ง 2 ข้าง
  • ไม่เจ็บเต้า
  • บีบออกเป็นหยด ไม่พุ่ง

เข้าเต้าอย่างไร ไม่ให้เจ็บนม

ปากล่างของลูก อยู่ห่างหัวนม
ลูกแหงนหน้า คางแตะเต้า
หัวนมชี้หัวตา
ขณะลูกอ้าปากจะงับ ให้ใช้นิ้วโป้งดันหัวนมเข้าปากลูก
ปากลูกแนบสนิท กับลานนม
อมลานนมด้านล่างมากกว่าด้านบน คางไม่ลอย

จมูกลูกไม่จมเต้า และไม่ควรรู้สึกเจ็บขณะลูกดูด


6 ท่า อุ้มให้นมลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่

ท่าอุ้มนอนขวางบนตักแม่
(Cradle Hold)

อุ้มลูกวางขวางไว้บนตัก ให้ท้ายทอยอยู่ที่แขนของคุณแม่ ปลายแขนของคุณแม่ช้อนไปที่ส่วนหลังและก้นของลูก ตะแคงตัวลูกเข้าหาเต้านมให้หน้าอกลูกและคุณแม่ชิดกัน มืออีกข้างพยุงเต้านม
ท่านอนขวางบนตักแบบประยุกต์ (Modified/Cross Cradle Hold)
อุ้มลูกน้อยวางไว้บนตักคล้ายท่าแรกแต่เปลี่ยนการวางมือของคุณแม่ โดยใช้มือด้านตรงข้ามกับเต้านมช้อนระหว่างท้ายทอยและคอของลูกแทนมืออีกข้างพยุงเต้านม
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล
(Clutch Hold/Football Hold)

วางหมอนหนา ๆ ไว้ข้างลำตัวจัดตำแหน่งลูกน้อยให้อยู่บนหมอนให้ลำตัวของลูกน้อยอยู่ใต้แขนของคุณแม่ ใช้มือประคองที่ท้ายทอยคอ และส่วนหลังของลูกน้อยเหมือนอุ้มลูกฟุตบอลที่เหน็บไว้ข้างลำตัว
ท่านอนตะแคง
(Side Lying Position)

คุณแม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากันศีรษะแม่สูงเล็กน้อย วางลูกให้ตำแหน่งปากอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมเพื่อนำหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดี สามารถขยับออก ประคองต้นคอและหลังได้
ท่าเอนตัว
(Laid-back Hold)

คุณแม่นอนเอนตัวแล้ววางลูกไว้บนหน้าอก ใช้มือโอบลูกน้อยไว้ และให้ศีรษะลูกเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจ
ท่าตั้งตรง
(Upright or Standing Baby)

อุ้มลูกน้อยตั้งตรง ขาลูกคร่อมต้นขาคุณแม่ ศีรษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีรษะของลูกและเต้านม

วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ สำหรับคุณแม่มือใหม่

  • ล้างมือให้สะอาด และเช็ดหัวนมด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก โดยเริ่มจากหัวนมไปจนรอบลานนม
  • วางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บนขอบนอกของลานนมฝั่งตรงข้ามกัน นิ้วอื่น ๆ ประคองเต้านมในลักษณะรูปตัวซี (C) ดังภาพ
  • เมื่อวางนิ้วได้ตรงตำแหน่งแล้ว ให้กดปลายนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือเข้าหาหน้าอกตัวเองหลังจากนั้นจึงบีบ-ปล่อยเป็นจังหวะ ให้น้ำนมไหลออกจากท่อ แล้วค่อยขยับนิ้วทั้วสองไปรอบ ๆ ลานนม ปรับทิศทางจนน้ำนมไหลออกมาอย่างต่อเนื่องและเกลี้ยงเต้า
  • เก็บน้ำนมไว้ในบรรจุภัณฑ์หรือขวดนมที่สะอาด
ควรบีบ/ปั๊มนมประมาณ 10-15 นาทีต่อข้าง รวมทั้งสองข้างไม่เกิน 30 นาที
ควรบีบ/ปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง

หากทำได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะทำให้มีน้ำนมเพียงพอ


ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนม

ที่อุณหภูมิห้อง >25 ํ C
เก็บได้นาน 3-4 ชั่วโมง
ที่อุณหภูมิห้อง <25 ํ C
เก็บได้นาน 6-8 ชั่วโมง
ในกระติกที่มีน้ำแข็งหล่อตลอดเวลา
เก็บได้นาน 24 ชั่วโมง
ในตู้เย็นช่องธรรมดา
อุณหภูมิ 4 ํ C
เก็บได้นาน 5 วัน
ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูเดียว) อุณหภูมิ -15 ํ C เก็บได้นาน 2 สัปดาห์
ในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูแยก) อุณหภูมิ -18 ํ C เก็บได้นาน 3-6 เดือน
ในตู้แช่แข็ง
อุณหภูมิ -20 ํ C
เก็บได้นาน 6-12 เดือน

อ้างอิง : Academy of Breastfeeding Medicine Protocol Committee 2010-2011

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล