ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ AF หรือ A-Fib) คือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดโดยพบได้ร้อยละ 1-2 ในประชาชนทั่วไป โอกาสของการเกิดภาวะนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยประชาชนในกลุ่มอายุ 80-90 ปีจะพบได้สูงถึงร้อยละ 5-15 นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ โดยผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดอื่น เช่น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะพบภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้สูงขึ้น

สาเหตุ

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น
  • โรคในระบบอื่น ๆ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษโรคปอด โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
  • ไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

อาการ

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • เหนื่อยขณะออกกำลังกาย
  • ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • เวียนศีรษะ
  • หายใจลำบาก
  • เป็นลมหมดสติ

ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

  • การตรวจชีพจรและอัตราการเต้นของหัวใจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
  • การตรวจอื่น ๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น
    • การตรวจหาภาวะซีดโลหิตจางหรือไตวาย
    • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
    • การตรวจเอกซเรย์ปอด
    • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)

แนวทางการรักษา

  • การใช้ยา
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ
  • การใช้สายสวนหัวใจให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล