โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ คือโรคที่เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์เยื้อบุผนังภายในกระเพาะปัสสาวะที่ผิดปกติ โดยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะมีอยู่หลายชนิด

  • ชนิด Transitional Cell Carcinoma หรือ Urothelial Carcinoma เกิดในเยื่อบุผนังภายในกระเพาะ เป็นชนิดมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • ชนิด Squamous Cell Carcinoma เกิดจากการติดเชื้อ อักเสบแบบเรื้อรังจากการฉายแสง หรือได้รับยาเคมีบำบัดบางชริดและเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา
  • ชนิด Adenocarcinoma ชนิดแบบต่อมที่เจริญมากจากเนื้อเยื่อต่อมซึ่งเป็นเยื่อบุผิว
  • ชนิด Small cell carcinoma เกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cells
  • ชนิด Sarcomas เกิดในเซลล์กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ

 ใครที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

  1. อายุ 40 ปีขึ้นไป หรืออาจพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า และมักจะพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ โดยผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะประมาณ 8 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  3. ได้รับสารเคมีที่อันตรายบางชนิด
  4. การรับประทานอาหารที่มีไนเตรตสูง เช่น เนื้อสัตว์ หรือผักบางชนิด
  5. ผู้ที่ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือติดเชื้อปรสิตบางอย่าง
  6. การใช้ยาบางชนิดจากการทำเคมีบำบัด
  7. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

อาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

  • ปัสสาวะปนเลือด อาการมักจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
  • มีการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะไม่ออก และปวดขณะเบ่งปัสสาวะ
  • เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดกระดูก เท้าบวม มีความอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย

 การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

  • ดูแลสุขภาพโดยการรับประทานผักและผลไม้
  • ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายทุกวัน
  • หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • งดสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการได้รับควันจากสารเคมี
  • หากครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งปัสสาวะ ควรไปตรวจสุขภาพหรือพบแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วยร่วมด้วย

  • ระยะที่ 1 การรักษามะเร็งกลุ่มที่ยังไม่มีการลุกลาม รักษาโดยการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อไปตัดเนื้องอกภายในกระเพาะปัสสาวะ
  • ระยะที่ 2 การรักษามะเร็งที่กลุ่มที่มีการลุกลาม รักษาโดยผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (Radical Cystectomy)
  • ระยะที่ 3 การรักษา โดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะ (Radical Cystectomy) ร่วมกับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัด
  • ระยะที่ 4 การักษาโดยการประคับประคองอาการผู้ป่วยให้เจ็บปวดน้อยที่สุดจาการรักษา และใช้เคมีบำบัดผ่านทางเส้นเลือด

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

  1. ควรรับประทาน ผักหรือผลไม้สด และ อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ใข่ เนื้อปลา หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากและรสจัด
  2. งดสูบบุหรี่
  3. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ติดตามผลการรักษา 3-6 เดือนในช่วงของปีแรก และตรวจสุขภาพโดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะในทุกปี

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล