ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกสะโพกหัก

การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุนั้นพบได้บ่อย และมักนำไปสู่ความพิการหรือการเสียชีวิต ในปัจจุบันพบว่าประชากรสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี   มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยอื่น ๆ   จึงทำให้จำนวนประชากรของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักสูงขึ้นตามไปด้วย

ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักนั้นมักจะมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น มักจะนำไปสู่ภาวะถดถอยของร่างกาย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในที่สุด

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน หรือความผิดพลาดจากการผ่าตัด จึงมีตัวชี้วัดเรื่องการติดเชื้อที่ตำแหน่งแผลผ่าตัด และอัตราการเข้ารับผ่าตัดซ้ำภายใน 28 วัน นอกจากนี้ผู้ป่วยและญาติ หรือผู้ดูแล จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก  ทั้งในเรื่องของการดูแลแผลผ่าตัด และการป้องกันการหกล้มซ้ำ เพื่อลดโอกาสที่นำมาสู่ภาวะกระดูกหักจากกระดูกพรุน ดังนั้นจึงมีตัวชี้วัดเรื่องร้อยละของผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก ที่หกล้มซ้ำภายใน 30 วันหลังจากผู้ป่วยกลับออกจากโรงพยาบาลด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยได้รับคำแนะนำที่ครอบคลุมและได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการรักษา

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกสะโพกหัก

นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ มากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปีขึ้นไป ที่มีกระดูกสะโพกหัก ตั้งแต่ 1สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ในการดูแลนั้นอยู่ในระดับตามที่คาดหวังไว้ คือไม่มีผู้ป่วยที่เกิดแผลผ่าตัดติดเชื้อ  หรือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำภายใน 28 วัน และไม่มีผู้ป่วยที่เกิดการหกล้มซ้ำหลังจากกลับออกจากโรงพยาบาลเลย

ซึ่งเมื่อเทียบเคียงผลลัพธ์ภายในองค์กรเดียวกันกับโรงพยาบาลกรุงเทพ พบว่าโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตมีผลลัพธ์การดูแลได้อยู่ในระดับที่ดี นอกจากนี้ทางแผนกกระดูกและข้อยังมีแผนการปฏิบัติเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ประสบความสำเร็จมากขึ้นคือ การเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน โดยการเข้าร่วมการส่งเสริมการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องกับทางโรงพยาบาลเลิดสิน ในโครงการ Thailand Fracture Liaison Service (FLS) ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยลดความรุนแรงของปัญหาภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล