ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคกระดูกสันหลัง

ผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลัง

โรคปวดหลัง (Back Pain) เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยส่วนใหญ่จะพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง การยกของหนัก อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา กิจกรรม หรือการท่องเที่ยว โดยส่วนมากเกิดจากกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือมีพังผืดและหินปูนเกิดขึ้นไปกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาตามแนวเส้นประสาท ซึ่งสามารถบำบัดรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท เช่น รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ฉีดยาลดการอักเสบเข้าโพรงกระดูกสันหลัง ฟื้นฟูร่างกายพร้อมทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังแพทย์แนะนำการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์การรักษาที่ดียิ่งขึ้น

โรคปวดหลัง (Back Pain)

ซึ่งในการประเมินความเจ็บปวด ตามมาตรฐานสากล จะใช้แบบประเมิน visual analogue scale (VAS) และ numerical rating scale (NRS) โดยที่ ระดับ 0 หมายถึง ไม่ปวด และ ระดับ 10 หมายถึงปวดมากที่สุด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลัง

ผลลัพธ์การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับจากสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพภูเก็ต

ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย หลังรับการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

ระดับความเจ็บปวดเฉลี่ย หลังรับการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างในสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพภูเก็ต รับการรักษาโดยเริ่มจากการรับประทานยาบรรเทาอาการปวด ฟื้นฟูร่างกายพร้อมทำกายภาพบำบัดโดยนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง ในระยะ 6 สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ฉีดยาลดการอักเสบเข้าโพรงกระดูกสันหลัง

อัตราผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หลังได้รับการฉีดยาลดการอักเสบ

คุณภาพชีวิต หมายถึง ความสามารถในการประกอบกิจต่าง ๆ ที่ควรจะกระทำได้เป็นปกติ ซึ่งใช้แบบประเมิน Oswestry Disability Index [3] ประกอบด้วย การประเมินความเจ็บปวด การดูแลตนเอง การเคลื่อนไหว การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การยกของ การมีเพศสัมพันธ์ และการเข้าสังคม

คุณภาพชีวิต

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างในสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพภูเก็ต เข้ารับการรักษาโดยการฉีดยาลดการอักเสบเข้าโพรงกระดูกสันหลังทั้งหมด 127 ราย ทางสถาบันมีการวัดคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตามแบบประเมิน Oswestry Disability Index ที่กล่าวข้างต้น โดยจะประเมินก่อนการรักษาและหลังการรักษา 2 สัปดาห์ 6 สัปดาห์ 3 เดือน 6 เดือนตามมาตรฐานสากล ทำการวัดผลพร้อมรายงานผลลัพธ์โดยการเปรียบเทียบก่อนการรักษาและหลังการรักษา 6 เดือน ซึ่งใน 6 เดือนแรกของปี 2562 มีผู้ป่วยทั้งหมด 79 ราย พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นทั้งหมด ( เป้าหมายการรักษาต้องการให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน้อย 25% และผลลัพธ์ที่ได้คือผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเฉลี่ย 37.5% เมื่อเทียบกับก่อนการรักษา)

ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลัง :

อัตราผู้ป่วยที่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หลังรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

คุณภาพชีวิต หมายถึง ความสามารถในการประกอบกิจต่าง ๆ ที่ควรจะกระทำได้เป็นปกติ ซึ่งใช้แบบประเมิน EuroQOL Thermometer[4] ประกอบด้วย การประเมินการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ ความไม่สุขสบาย ความวิตกกังวล และภาวะสุขภาพในขณะนั้น

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังในสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพภูเก็ต ก่อนรับการผ่าตัดจะได้รับการประเมินคุณภาพชีวิตด้วยแบบประเมิน EuroQOL Thermometer เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามอาการผู้ป่วยรวมถึงพิจารณาแผนการรักษา ภายใน 6 เดือนหลังการผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยทุกรายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีค่าคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับผลการประเมินก่อนการรักษา

อัตราผู้ป่วยที่ไม่เกิดการบาดเจ็บบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง หลังรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

ในปี พ.ศ.2562 ไม่พบผู้ป่วยรายใดเกิดการบาดเจ็บบริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง หลังรับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นสถิติที่ดีเมื่อเทียบกับอัตราผู้ป่วยที่ไม่เกิดการบาดเจ็บบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังของ North American Spine Society

อ้างอิง:
[1] Royal College of Physicians.The assessment of pain in older people.CONCISE GUIDANCE TO GOOD PRACTICE A series of evidence-based guidelines for clinical management.October 2007. https://www.britishpainsociety.org/static/uploads/resources/files/book_pain_older_people.pdf
[2] Ellard DR, Underwood M, Achana F, et al.Facet joint injections for people with persistent non-specific low back pain (Facet Injection Study): a feasibility study for a randomised controlled trial.Southampton (UK): NIHR Journals Library; 2017 May.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK436377/
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Oswestry_Disability_Index, National Council for NCOR Osteopathic research.Oswestry Disability Index.2006.https://www.ncor.org.uk/wp-content/uploads/2012/12/Oswestry-Disability-questionnairev2.pdf
[4] Mandy van Reenen, Bas Janssen.EQ-5D-5L User Guide Basic information on how to use the EQ-5D-5L instrument.April 2015:Version 2.1.https://euroqol.org/wp-content/uploads/2016/09/EQ-5D-5L_UserGuide_2015.pdf
[5] Sadiqi, Said. Spine Trauma Outcome Measures for Patients and Clinicians. UMC Repository (North American Spine Society). 2018. https://dspace.library.uu.nl/handle/1874/369695

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล