ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเกิดกระดูกสะโพกหัก

กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะของกระดูกที่บางและเปราะกว่าปกติ การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการผ่าตัดอาจนำไปสู่การนอนติดเตียง ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เกิดแผลกดทับ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หากปล่อยไว้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วย ญาติ หรือผู้ดูแล จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดกระดูกสะโพก ทั้งในเรื่องของการดูแลแผลผ่าตัด รวมถึงการป้องกันการหกล้มซ้ำ เพื่อลดโอกาสที่จะนำไปสู่การเกิดกระดูกสะโพกหักซ้ำ

ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีตัวชี้วัดหลังการผ่าตัดกระดูกสะโพก ดังนี้

  • อัตราการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
  • อัตราผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไม่มีการผ่าตัดซ้ำภายใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผนด้วยสาเหตุเดิม
  • อัตราผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไม่มีการหกล้มซ้ำภายใน 30 วัน หลังจากผู้ป่วยกลับออกจากโรงพยาบาล

โดยมีผลลัพธ์ของตัวชี้วัด ตามลำดับ

อัตราผู้ป่วยสูงอายุติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หลังได้รับการผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเกิดกระดูกสะโพกหัก

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด มีผลลัพธ์ที่ดีโดยไม่พบผู้ป่วยรายใดเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด

อัตราผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไม่มีการผ่าตัดซ้ำภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผนด้วยสาเหตุเดิม

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเกิดกระดูกสะโพกหัก

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด มีผลลัพธ์ที่ดีโดยไม่มีผู้ป่วยรายใดรับการผ่าตัดซ้ำ ภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผนด้วยสาเหตุเดิม (Unplanned reoperation with hip fracture within 28 days)

อัตราผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ไม่มีการหกล้มซ้ำภายใน 30 วัน หลังกลับไปพักฟื้นที่บ้าน

Result of Treatment for Elderly Patient with Hip Fracture

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ไม่มีผู้ป่วยรายใดเกิดการหกล้มซ้ำ ภายใน 30 วัน หลังกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ซึ่งเป็นสถิติที่ดีเมื่อเทียบกับอัตราผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่เกิดการหกล้มซ้ำภายใน 30 วัน ของ American Geriatrics Society

*อ้างอิง:

[1] JJW Roche ,R T Wenn,O Sahota, C G Moran.Effect of comorbidities and postoperative complications on mortality after hip fracture in elderly people: prospective observational cohort study BMJ.2005(Published 18 November 2005).https://doi.org/10.1136/bmj.38643.663843.55

[2] National Hip Fracture Database annual report 2017 (NHFD).https://nhfd.co.uk/files/2017ReportFiles/NHFD-AnnualReport2017.pdf

[3] Jane Mahoney Mark Sager Nancy Cross Dunham Jill Johnson. Risk of Falls after Hospital Discharge. Presented in part at the annual meeting of the Gerontological Society of America.2015 (Version of Record online: 27 April 2015). https://doi.org/10.1111/j.1532-5415.1994.tb01750.x Cited by: 123

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล