ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจก

ไขข้อสงสัยว่าอะไรคือ “ต้อกระจก”

ต้อกระจก (Cataract) คือ เลนส์ตาที่ขุ่นมากขึ้น จนบดบังการมองเห็น โดยปกติเกิดจากความเสื่อม มักพบในคนที่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคต้อกระจก

ส่วนใหญ่โรคต้อกระจกเกิดจากความเสื่อม เลนส์ตาเสื่อมก็กลายเป็นต้อกระจก ส่วนปัจจัยที่ทำให้ต้อกระจกเกิดเร็วหรือช้าเมื่อเทียบกับคนปกตินั้น มีหลายสาเหตุปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยที่ส่งผลให้ต้อกระจกเป็นมากหรือเป็นเร็วขึ้น ได้แก่

อาการของโรคต้อกระจก

อาการมักจะแย่ลงอย่างช้า ๆ ช่วงแรกอาจจะทำให้ค่าสายตาผิดปกติ ใส่แว่นแล้วมองเห็นชัดขึ้น แต่ต่อมาจะไม่สามารถแก้ไขค่าสายตาได้ด้วยแว่นตา อาการส่วนใหญ่จะมาด้วย

ต้อกระจกรักษาอย่างไรได้บ้าง

“ปัจจุบันการรักษาต้อกระจกที่เป็นวิธีมาตรฐาน คือการผ่าตัด” ยังไม่มียาหยอด หรือ ยากินใด ๆ ที่มีงานวิจัยรองรับเป็นสากลว่าสามารถรักษาต้อกระจกได้

มีบางวิจัยที่บอกว่ามีวิธีที่สามารถชะลอการเกิดต้อกระจกได้บ้าง เช่น ใส่แว่นตากันแดดที่สามารถป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต (UV) ได้ จุดประสงค์เพื่อลดการสัมผัสแสง UV ที่มากเกินไป หรือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น

หลักการผ่าตัดต้อกระจก

ปัจจุบันโดยทั่วไป การผ่าตัดต้อกระจกเป็นการผ่าตัดแบบใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความเจ็บปวด อาจจะเป็นยาชาชนิดหยอด หรือชนิดฉีดเพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหวของลูกตา ในขั้นตอนการผ่าตัดผู้ป่วยจะยังรู้สึกตัว และสามารถได้ยินเสียงเครื่องมือ รวมถึงสามารถพูดคุยโต้ตอบกับแพทย์ได้

ก่อนทำการผ่าตัด จะต้องมีการหยอดขยายม่านตา และทำความสะอาดบริเวณรอบดวงตา ในห้องผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องนอนหงายและนอนราบ โดยมีผ้าคลุมใบหน้าและช่วงอก โดยจะเปิดบริเวณข้างที่จะผ่าตัดไว้อย่างเดียว

หลักการผ่าตัดต้อกระจก

จักษุแพทย์จะทำการเตรียมบริเวณที่ต้องผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็กที่ขอบของกระจกตา ใช้เครื่องมือเปิดถุงหุ้มเลนส์ให้มีขนาดพอเหมาะ

หลังจากนั้นใช้เครื่องมือปล่อยพลังงานคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปทางแผลขนาดเล็กที่เปิดไว้ เพื่อสลายเลนส์ต้อกระจกออกจากถุงหุ้มเลนส์

เมื่อเลนส์ต้อกระจกหมดไป จะใช้เลนส์เทียมใส่เข้าไปในถุงหุ้มเลนส์แทนที่

จากนั้นจะทำการปิดแผลและฉีดยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ผลลัพธ์การรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกในปี 2564 – 2565 ของ รพ.กรุงเทพ

ในปี 2565 ผู้ป่วยโรคต้อกระจกของศูนย์จักษุ รพ. กรุงเทพภูเก็ต ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด จะได้รับการติดตามอาการหลังผ่าตัด 1 วัน 7 วัน และ 30 วัน เพื่อประเมินการมองเห็นตามมาตรฐานสากล ซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เข้ามาติดตามอาการทั้งหมด มีการมองเห็นดีขึ้น และในกรณีที่ผู้ป่วยรับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ชนิดโฟกัสหลายระยะ ผู้ป่วยสามารถจะมองเห็นที่ไกลได้ดี และสามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใช้แว่น

Benchmarking Powe NR, Schein OD, Gieser SC, Tielsch JM, Luthra R, Javitt J, Steinberg EP: Synthesis of the literature on visual acuity and complications following cataract extraction with intraocular lens implantation. Arch Ophthalmol 1994; 112: 239-252.

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล