วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก (Fertility and Infertility Treatment)

ภาวะการมีบุตรยากคืออะไร

ภาวะการมีบุตรยาก หรือ ภาวะไม่เจริญพันธุ์ คือ ภาวะทางร่างกายของคู่สมรสที่แต่งงานกันและยังไม่มีบุตร โดยประเมินจากระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วยังไม่ตั้งครรภ์

สาเหตุของการมีบุตรยาก

การมีบุตรยาก อาจเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ อันเป็นปัจจัยทางฝ่ายหญิง เช่น หลอดมดลูกเสียหายจนไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะพังผืดในอุ้งเชิงกราน ความผิดปกติของมดลูก ปีกมดลูก และอวัยวะสืบพันธุ์ หรือปัจจัยทางฝ่ายชาย เช่น ตัวอสุจิน้อยกว่าปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน รูท่อปัสสวะเปิดผิดที่ ภาวะหลั่งน้ำกามย้อนกลับ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ภาวะที่มีบุตรยากที่อธิบายสาเหตุไม่ได้

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันนี้มีหลายวิธี โดยขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ระยะเวลา อายุของคู่สมรส และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ขั้นตอนแรกคือการหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจำเป็นต้องตรวจทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เนื่องจาก ภาวะมีบุตรยากอาจเกิดจากสาเหตุจากทั้งสองฝ่ายร่วมกันได้ ในกรณีที่ตรวจไม่พบความผิดปกติที่เป็นสาเหตุ ก็มีวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์โดยรวมได้แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนก็ตาม

การรักษาภาวะมีบุตรยาก สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ

การรักษาภาวะมีบุตรยาก การรักษาโดยการผ่าตัด

1. การรักษาโดยการผ่าตัด

• การผ่าตัดท่อนำไข่
• การผ่าตัดรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และพังผืดในอุ้งเชิงกราน
• การผ่าตัดแก้หมัน

 

 

การรักษาภาวะมีบุตรยาก การรักษาโดยการผ่าตัด2. การรักษาโดยการใช้ยา

โดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้ คือ ยากระตุ้นการตกไข่ โดยยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นการเจริญของเซลล์ไข่ เช่น โคลมิฟีน, ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน การรักษาโดยการใช้ยาได้แก่ การกินยากระตุ้นไข่แล้วนับวันมีเพศสัมพันธ์ และการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intrauterine insemination; IUI)

 

3. การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์
(Assisted Reproductive medicine; ART)

การรักษาภาวะมีบุตรยาก การรักษาโดยการผ่าตัด• การปฏิสนธินอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว
(In vitro fertilization: IVF) เทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีการเก็บไข่ออกมานอกร่างกายของฝ่ายหญิง นำมาผสมกับตัวอสุจิของฝ่ายชายเพื่อให้เกิดตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ จากนั้นอีก 2-3 วัน หรือการเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายจนถึงระยะฝังตัว (เรียกตัวอ่อนระยะ “บลาสโตซิส”) ซึ่งต้องใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงนาน 5-6 วัน แล้วจึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ฝังตัวและเจริญต่อไปเป็นทารกในครรภ์

 

การรักษาภาวะมีบุตรยาก การรักษาโดยการผ่าตัด• อิ๊กซี่ (Intracytiplasmic sperm injection; ICSI) คือ การฉีดตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ ในกรณีที่อสุจิไม่สามารถผสมกับไข่ได้เอง หรือปริมาณอสุจิมีน้อยเกินไปจากสาเหคุมีบุตรยากทางฝ่ายชาย

 

 

ระยะเวลาในการรักษา

ระยะเวลาในการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก ใช้ระยะเวลาประมาณ 14-15 วันเป็นอย่างน้อย โดยเริ่มการกระตุ้นไข่ในวันที่ 2 ของประจำเดือน และจะทราบผลการตั้งครรภ์ 14 วัน ภายหลังจากการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก

โอกาสตั้งครรภ์

โดยเฉลี่ยอัตราความสำเร็จในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ประมาณ 30% ต่อการเก็บไข่แต่ละครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้มารับบริการด้วย คนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีอาจมีอัตราความสำเร็จสูงกว่านี้ในขณะที่คนอายุมากกว่า 35 ปีจะน้อยกว่านี้ และในคนที่อายุเกิน 40 ปีอาจมีอัตราความสำเร็จเพียง 20% หรือน้อยกว่า คนที่ไม่ตั้งครรภ์จากการรักษาครั้งแรกถ้ามาทำซ้ำก็จะมีอัตราการตั้งครรภ์เช่นครั้งแรก ดังนั้นถ้ามารับการรักษาจำนวนหลายครั้งก็จะมีโอการสตั้งครรภ์สะสมได้สูงขึ้น เช่น 60-70% ถ้ารับการรักษา 4 รอบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ แบ่งได้กว้างๆเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเกิดจากผลข้างเคียงของยา และจากภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป กลุ่มที่สองเป็นผลข้างเคียงจากการทำหัตถการ เช่นการดมยาสลบ การเก็บไข่ การใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก และสุดท้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่นตั้งครรภ์แฝด ท้องนอกมดลูก ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อย

 


ปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพได้ที่ สายด่วน โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต โทร.1719 ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือส่งอีเมลถึงเราได้ที่ [email protected]

สวัสดี!

ติดต่อกับเราได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคย

ติดตามข่าวสาร

จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

กรุณากรอกอีเมลคุณเพื่อรับข่าวสารจากโรงพยาบาล